ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การประัเมินโครงงานคณิตศาสตร์

การประเมินโครงงานคณิตศาสตร์

ในการประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ที่ส่งเข้าประกวดในเวทีต่าง ๆ นั้น มีรายการและคะแนน ที่คณะกรรมการประเมินจะพิจารณา
ดังนี้

1 ความสำคัญของการจัดทำโครงงาน ( 20 คะแนน )

1.1 การริเริ่มโครงงาน (นักเรียนริเริ่มเองหรือครูช่วยแนะแนวทาง) (6 คะแนน)

1.2 ความสำคัญหรือความน่าสนใจของโครงงาน ( 7 คะแนน )

1.3 ความเกี่ยวพันธ์กับเนื้อหาในบทเรียนสอดคล้องกันหรือไม่ (7 คะแนน )

2. เนื้อหาของโครงงาน ( 40 คะแนน )

2.1 ความถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ ( 10 คะแนน )

2.2 ประโยชน์ของโครงงาน ( 10 คะแนน )

2.3 การดำเนินงานตามแผน ( 10 คะแนน )

2.4 ความสอดคล้องเหมาะสมถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ตรงประเด็นปัญหา ( 10 คะแนน )


3. การเขียนรายงานโครงงาน ( 20 คะแนน )

3.1 ปกหน้า ( 5 คะแนน )

3.2 บทคัดย่อ ( 5 คะแนน )

3.3 เนื้อหาของโครงงาน ( 5 คะแนน )

3.4 เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ( 5 คะแนน )

4. การแสดงผลงาน ( 20 คะแนน )

4.1 การจัดทำแผงโครงงาน

4.1.1 ได้มาตรฐาน ( 3 คะแนน )

4.1.2 สวยงาม สร้างสรรค์ ประหยัด ( 3 คะแนน )

4.1.3 เนื้อหาครบถ้วน ( 4 คะแนน )

4.2 การนำเสนอ

4.2.1 นำเสนอได้ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ( 5 คะแนน )

4.2.2 การตอบคำถาม ( 5 คะแนน )


รวมคะแนนทั้งสิ้น 100 คะแนน

หมายเหตุ จากประสบการณ์ในการตรวจประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ในเวทีต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตที่ ครู/อาจารย์ ที่ปรึกษาโครงงาน และคณะนักเรียนผู้เป็นเจ้าของโครงงานควรตระหนักรู้ ใส่ใจ ดังนี้

1. การเขียนรายงานโครงงาน มีข้อบกพร่องอย่างมาก เขียนผิดพลาด ตกหล่น สะกด คำไม่ถูกต้อง กระจายอยู่ทั่วไปแสดงให้เห็นถึงการขาดความรอบคอบ ความละเอียด ประณีต ไม่สมกับที่เป็นโครงงานที่ส่งเข้าประกวด ครู/อาจารย์ ที่ปรึกษาควรกำชับตรวจทาน เพราะมีผู้เข้าชมที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก มันหมายถึงชื่อเสียงของโรงเรียนด้วย ควรมีระบบการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน ถ้าเป็นไปได้ควรมีที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้วยเพื่อการตรวจสอบรูปแบบ การเขียนรายงานที่สมเหตุสมผล

2. นักเรียนเจ้าของโครงงานขาดความรู้ที่เป็นหลักสำคัญที่ใช้ในการทำโครงงานที่ตนทำนั้น แล้วจะทำให้กรรมการผู้ประเมินเชื่อได้อย่างไรว่าเป็นผลงานของตน ดังนั้นเจ้าของโครงงานจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับโครงงานที่ตนทำเป็นอย่างดี มิใช่ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ โครงงานจะดีเพียงใดก็ทำให้เสียคะแนนได้

3. คำนึงถึงเนื้อหาสาระของโครงงานนั้นว่าตรงกับระดับที่ส่งเข้าประกวดหรือไม่ เพราะเมื่อเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ส่งเข้าประกวดในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ย่อมไม่เหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ผลงานวิชาการที่ดีมีคุณค่า

ในการผลิตผลงานทางวิชาการที่ดีนั้น ควรยึดหลักการดังต่อไปนี้
1. เป็นผลงานที่มีคุณค่า
2. การศึกษาค้นคว้าที่ดี
3. มีความถูกต้อง
4. ไม่บกพร่องด้านหลักการ
5. เป็นผลงานสร้างสรรค์
6. ทันสมัย
7. เ้ร้าใจผู้อ่าน
8. เป็นงานที่สมบูรณ์
9. เพิ่มพูนความใหม่แก่วงวิชาการ
10. เป็นผลงานที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรม
11. ชี้นำสังคม
12. เหมาะสมไม่ล่วงล้ำสิทธิบุคคล
13. มีความแยบยลในการใช้ภาษา
14. มีจรรยาบรรณ มีคุณธรรม
15. การจัดทำประณีตงดงาม
16. มีความพอดี ความสมบูรณ์
17. รวบรวมข้อมูล และนำเสนออย่างมีระบบ
18. ครบตามระเบียบที่กำหนดไว้
19. เนื้อหา รูปเล่มน่าสนใจ น่าศึกษา
20. นำผลการวิจัยมาประกอบการเขียน
1

ผลงานที่ไม่อนุมัติ

ผลสรุปข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับผลงานวิชาการประเภทต่าง ๆ ในการขอกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และ รองศาสตราจารย์ ที่คณะกรรมการประเมินมีมติไม่อนุมัติ

เอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน

1. รูปแบบของเอกสาร

1.1 ปกนอก และปกใน
1) ไม่มีการพิมพ์คำว่า เอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน
2) ไม่ต้องพิมพ์สาขาวิชา ....................... ภาควิชา ...................
3) ปกนอกไม่ต้องพิมพ์วุฒิการศึกษา ........ สาขาวิชา...................
4) ปกนอกให้ทำเป็นปกอ่อนเป็นแผ่นเดียวกันไม่นำกระดาษหรือแลคซีนมาปะสันหนังสือ

1.2 แผนบริหารการสอน
1) แผนบริหารการสอนไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคู่มือประกอบการเขียนผลงานวิชาการ
2) แผนบริหารการสอนรายวิชา มีหัวข้อไม่ครบ หรือครบแต่ไม่สมบูรณ์ เนื้อหามีแต่หัวข้อหลัก ไม่มีหัวข้อรองหรือ
หัวข้อย่อย การแบ่งเนื้อหากับกำหนดเวลาในการสอนไม่ครบตามหน่วยกิต/ชั่วโมง (ทฤษฎี-ปฏิบัติ) ที่กำหนดไว้ใน
หลักสูตร
3) แผนบริหาการสอนไม่มี หรือมีแต่ไม่สมบูรณ์ วิธีสอนและกิจกรรม สื่อ การประเมินผล เสนอเหมือนกันทุกบท ซึ่งปกติ
ต้องหลากหลายตามลักษณะเนื้อหา
1.3 ไม่มีแบบฝึกหัด บางฉบับมีแต่ไม่เพียงพอ
1.4 ไม่มีหนังสืออ้างอิง หรือบรรณานุกรมท้ายบทแต่ละบท
1.5 ไม่มีบรรณานุกรมท้ายเล่ม
1.6 การพิมพ์ผิดมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.7 การเรียงลำดับหน้าไม่ถูกต้อง เรียงกลับหัวกลับหาง หน้าขาดหายไปบางหน้า

2. เนื้อหา
2.1 เขียนไม่ครอบคลุมคำอธิบายรายวิชา
2.2 เนื้อหาในแต่ละบทน้อยเกินไป จำนวนบทมีเพียง 4-5 บท และเนื้อหาแต่ละบทไม่เท่ากัน
2.3 เอกสารคำสอน เนื้อหาขาดความลึกซึ้ง และมีความลุ่มลึกน้อยกว่าเอกสารประกอบการสอน
2.4 เนื้อหาเป็นส่วนของผู้เขียนมีน้อย มีลักษณะแบบนำเนื้อหาของผู้อื่นมาเรียงต่อกัน
2.5 รูปภาพ และตารางขาดการะบุแหล่งที่มา
2.6 ข้อมูลที่นำมาใช้ล้าสมัย ขาดความชัดเจน

งานแต่งเรียบเรียง หนังสือ หรือ ตำรา
1. การวางโครงเรื่องไม่เหมาะสมตามลำดับเหตุผลทางวิชาการ เช่น ควรจะกล่าวเรื่องอะไร ก่อนหลัง
2. เนื้อหาขาดความลึกซึ้งทางวิชาการ ไม่มีรายละเอียดเพียงพอในแต่ละเรื่อง
3. เนื้อหาขาดความทันสมัย ข้อมูลที่นำมาใช้ยังเป็นข้อมูลเก่า
4. เนื้อหาผิด เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
5. ขาดเนื้อหาสาระสำคัญ ในกรณีเขียนผลงานตามรายวิชาในหลักสูตรช และมีเนื้อหาไม่ครอบคลุม
6. การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน ใช้ภาษาอังกฤษมากเกินไป ภาษาที่ใช้ไม่คงที่ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก
ใช้คำฟุ่มเฟือย การยกตัวอย่างภาษาท้องถิ่นต้องบอกความหมายด้วย

7. การใช้คำศัพท์
7.1 สร้างศัพท์ขึ้นใช้เอง
7.2 ใช้คำไม่ตรงกับความหมายเดิม
7.3 ไม่ใช้คำศัพท์บัญญัติตามราชบัณฑิตยสถาน หรือคำศัพท์ที่สมาคมวิชาชีพกำหนด

8. การนำเสนอ
8.1 เสนอข้อมูลแบบสรุป เป็นข้อมูลแบบเดิม ๆ
8.2 ปัญหาหรือข้อมูลไม่ชัดเจน ขาดการวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นงานรวบรวม
8.3 รูปภาพที่นำมาใช้ไม่ชัดเจน ภาพกับเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน ไม่สมจริง ขาดความเชื่อมโยงของเนื้อหากับภาพ ไม่มีคำ
อธิบายภาพ ไม่บอกที่มา ขาดการอ้างอิงกรณีนำมาจากผู้อื่น
8.4 แผนภูมิ ตาราง ข้อมูลไม่ทันสมัย ขาดแหล่งอ้างอิง ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา
8.5 สัดส่วนของเนื้อหาในแต่ละบทไม่เท่ากัน
8.6 การจัดลำดับหัวข้อไม่เหมาะสมตามความสำคัญ และไม่เป็นระบบ
8.7 การพิมพ์ พิมพ์ผิดมาก พิมพ์ตก วรรคตอนไม่ถูกต้อง แก้คำผิดด้วยปากกา หรือวิธีตัดปะ และขาดความทประณีต

9. การอ้างอิง
9.1 การอ้างอิงไม่ถูกต้อง ขาดความสมบูรณ์
9.2 การอ้างอิงไม่ทันสมัย ไม่เป็นระบบ
9.3 มีอ้างอิงในเนื้อหาแต่ไม่มีในบรรณานุกรม
9.4 มีการอ้างอิงพร่ำเพรื่อ เต็มทั้งหน้า ไม่มีความคิดเห็นของผู้เขียนแสดงไว้เลย

งานวิจัย
1. ขาดความถูกต้องของรูปแบบการวิจัย
2. ขาดความถูกต้องของเนื้อหา
3. ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. การกำหนดปัญหาไม่น่าสนใจ หรือมีประโยชน์น้อย หรือบางครั้งปัญหานั้นทราบคำตอบอยู่แล้วโดยไม่ต้องวิจัย
5. ภูมิหลังของงานวิจัยมีน้อย ไม่ชัดเจนในประเด็นที่จะต้องทำการวิจัย
6. จุดประสงค์ในการวิจัยไม่ชัดเจนพอที่จะนำไปสู่องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ตัวแปร สถิติที่ใช้
7. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีน้อย หรือมีมากแต่ไม่ตรงกับเรื่องที่ตรงกับวิจัย
8. กลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป วิธีการสุ่มตัวอย่างไม่ถูกต้อง
9. เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ขาดความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่เหมาะสม
10. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติไม่ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ
11. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด บิดเบือนหรือแก้ไขข้อมูลนั้นเพื่อให้ตรงตามที่ตั้งใจ

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ผลงานทางวิชาการ:มุมมองที่ต้องตรอง

มีมุมมองของผู้ประเมินผลงานทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้นำเสนอให้ครูอาจารย์ได้ัรับรู้และเข้าใจเป็นพื้นฐานเพื่อประกอบการใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดเตรียมการจัดทำ ดังนี้
1. เนื้อหาต้องครบถ้วนตามหลักสูตร หรือมีความสอดคล้องเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการจัดทำผลงานนั้น ๆ ต้องตรงกับชื่อเรื่อง เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบันและวัยของผู้เรียนด้วย
2. เนื้อหาแต่ละบทควรให้มีความสมดุลกัน ถ้าบทใดมีความยาว และมีเนื้อหามากเกินไปก็ควรตัดตอนให้เหมาะสม หรือแบ่งเป็นอีกบทเพิ่มเติม และเนื้อหาต้องถูกต้องกระจ่างชัด ไม่ขัดแย้งและซ้ำซ้อนกัน
3. วิธีการนำเสนอ และการเีรียบเรียงต้องน่าสนใจต่อเนื่องไม่สับสน และบางครั้งต้องมีตัวอย่างประกอบ เพื่อสร้างความเข้าใจหรือเป็นการฝึกทักษะแก่ผูเีรียน จะทำให้เนื้อหาสาระสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. การใช้ภาษา การใช้คำนิยามศัพท์ ต้องเหมาะสมและถูกต้อง
5. การทำผลงานทางวิชาการ ควรมีรูปแบบเป็นมาตรฐานตามแบบของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ รูปแบบของตำรา ควรมีปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อหา เชิงอรรถ บรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี เป็นต้น หรืองานวิจัยที่ควมีรูปแบบมาตรฐานของงานวิจัย แต่ละรูปปแบบต้องจัดทำอย่างประณีต โดยต้องศึกษาให้ดีก่อน
6. การอ้างอิงทั้งเชิงอรรถและบรรณานุกรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานวิชาการสมบูรณ์ น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นการศึกษาค้นคว้าของผู้ขอ จึงต้องจัดทำให้ถูกต้องตามหลักการเขียนทั้งเชิงอรรถและบรรณานุกรม โดยอาจยึดรูปแบบอย่างของสถานศึกษาใดก็ได้โดยมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วนทันสมัย และควรเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม
7. การพิมพ์และการพืสูจน์อักษร ควรจัดทำอย่างประณีต เพราะเป็นการแสดงถึงคุณภาพหรือข้อบกพร่องของผลงานได้อย่างชัดเจนที่สุดไม่ควรแก้ไขโดยการลบแล้วเติมด้วยปากกา
8. การทำผลงานนี้ ควรมีความคิดิเิ่มสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นปะโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชากา ตลอดจนปะโยชน์ต่อนักเียน นักศึกษาด้วย

ผลงานทางวิชาการ

1. คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการในมหาวิทยาลัย

1.1 เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชา และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ

1.2 เอกสารคำสอน หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีกาสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบู์มากกว่าเอกสารประกอบการสอน

1.3 บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการและมีการสรุปประเด็น อาจมีการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน

1.4 ตำรา หมายถึงเอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำราในรูปของสื่ออื่น ๆ เช่น ซีดีรอม หรือใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่น ๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
1.5 หนังสือ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่น ๆ ประอบกันตามความเหมาะสม

1.6 งานวิจัย หมายถึง งานค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักการหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา

1.7 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายถึง ผลงานอย่างอื่นที่มิใช่เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ บทความทางวิชาการ ตำรา หรือ งานวิจัย โดยปกติหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ อาทิ เครื่องทุ่นแรง ผลงานการสร้างสิ่งมีชีวิตพันธ์ุใหม่ วัคซีน หรือสิ่งก่อสร้าง ผลงานศิลปะ ฯลฯ ผลงานทางวิชาการดังกล่าวอาจบันทึกเป็นภาพยนต์หรือแถบเสียงก็ได้
รวมถึงงานแปลจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรมหรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาอื่นบางสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขานั้น ๆ ซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการที่ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลจากภาษาต่างประเทศหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เสนอจะต้องประกอบด้วย คำอธิบายที่ชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือให้วิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชานั้น และแสดงถึงความสามารถในการบุกเบิกในสาขาวิชานั้น สำหรับผลงานที่มุ่งเชิงปฏิบัติจะต้องผ่านการพิสูจน์ หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบการแสดงให้เห็นคุณค่าของผลงาน

2. ระดับผลงานทางวิชาการจำแนกตามระดับคุณภาพ

2.1 ตำรา

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และ ทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
2) มีการสอดแทรกความคิดริเิ่ริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3) สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง
3) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติหรือนานาชาติ


2.2 หนังสือ

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และ ทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
2) มีการสอดแทรกความคิดริเิ่ริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
3) สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง
3) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

2.3 งานวิจัย

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นงานวิจัยที่มีความถูกต้องเหมาะสมทั้งในระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลและการนำเสนอผล ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปประยุกต์ได้ ทั้งนี้ต้องได้รับการตีพิมพ์ และเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) เป็นผลงานที่แสดงถึงความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว
2) เป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวาง หรือสามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างแพร่หลาย

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสูง
2) เป็นที่ยอมรับในววิชาการหรือวิชาชีพ และ/หรือระดับนานาชาติ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นผลงานใหม่ หรือเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ด้วยวิธีการใหม่ ๆ และผลงานนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่ง

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) ได้รับการรับรองโดยองค์กรทางวิชาการหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในสาขาที่เสนอหรือได้รับการเผยแพร่ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง
2) เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้องเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงวิชาการ และ/หรือ วงวืชาชีพทั้งในระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ


2.5 งานแปล

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นงานแปลที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในตัวบท แบบแผนความคิด และ/หรือ วัฒนธรรมต้นกำเนิด และบ่งชี้ความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างดี มีการศึกษาวิเคราะห์และตีความทั้งตัวบทและบริบทของตัวงานใลลักษณะที่เทียบได้กับงานวิจัย มีการให้อรรถาธิบายเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ อันเหมาะสมทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :เป็นงานแปลที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งในตัวบท แบบแผนทางความคิด และ/หรือ วัฒนธรรมต้นกำเนิด และบ่งชี้ถึงความสามารถในการสื่อความหมายซึ่งสูงมาก มีการศึกษาวิเคราะห์และตีความทั้งตัวบทและบริบทของตังงานอย่างละเอียดลึกซึ้งในลักษณะที่เทียบได้กับงานวิจัยของผู้สันทัดกรณี มีการให้อรรถาธิบายเชืงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ อันเหมาะสมทั้งในระดับมหัภาค และจุลภาค

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ให้ข้อสรุปในด้านวิธีการแปลและทฤษฎีการแปลใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากโดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1) เป็นงานแปลที่มาจากต้นแบบที่มีความสำคัญในระดับที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ
2) เป็นงานที่แปลอยู่ในระดับที่พึงยึดถือเป็นแบบฉบับได้
3) มีการให้ข้อสรุปในด้านของวิธีการแปล และทฤษฎีการแปลที่มีลักษณะเป็นการบุกเบิกทางวิชาการ



3. ลักษณะของการตีพิมพ์เผยแพร่
3.1 เอกสารประกอบการสอน ลักษณะการตีพิมพ์ : ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
3.2 เอกสารคำสอน ลักษณะการตีพิมพ์ : ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
3.3 บทความทางวิชาการ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม หรือทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์
2) ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความหรือเอกสารวิชาการในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการตรวจสอบคุณภาพ
3.4 ตำรา ต้องได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนและได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาก่อนนำเสนอ

3.5 หนังสือ ต้องได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์โดยได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาก่อนนำเสนอ

3.6 งานวิจัย เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ
2) ตีพิมพ์ในหนังสือรวมงานวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งเป็นงานที่ได้รับเชิญให้เขียน และ/หรือ มีกองบรรณาธิการตรวจสอบ
คุณภาพ
3) นำเสนอในรูปเอกสารวิชาการต่อที่ประชุมทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขานั้น ๆ โดยมีการนำไปรวมเล่ม
เผยแพร่ในรูปหนังสือรวมเอกสารวิชาการจากการประชุมครั้งนั้น (Proceeding)
4) ในกรณีที่งานวิจัยฉบับสมบูรณ์มีความยาวขนาดเล่มหนังสือจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปเผย
แพร่ยังสถาบันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง