ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

x^2 - y^2 = n^3

วันนี้ครูพี ขอเสนอบทความเกี่ยวกับสมบัติที่น่าสนใจเกี่ยวกับจำนวนเต็ม ซึ่งนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรี อาจประยุกต์ไปทำหัวข้อสัมมนาในวิชาสัมมนาคณิตศาสตร์ได้  ความมีดังนี้

สำหรับจำนวนเต็มบวก n ใด ๆ  เราสามารถหาจำนวนเต็ม x และ y โดยที่  x2 – y2 = n3

พิสูจน์  เนื่องจาก   x2 – y = (x + y)(x - y)

          ให้   x + y = n2 และ x – y = n

          จะได้  x = n(n+1)/2   และ   y = n(n-1)/2

           ดังนั้น {n(n+1)/2}2 – {n(n-1)/2}2 = n3         

โดยใช้กระบวนการพิจารณาในทำนองเดียวกันนี้ก็จะสามารถ แสดงให้เห็นได้ว่า สำหรับจำนวนเต็มบวก n ใด ๆ และ  t = 4, 5, 6,…  เราย่อมหาจำนวนเต็ม x และ y โดยที่ x2 – y2 = nt 

ผู้อ่านลองแจกแจงกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาเพื่อพิสูจน์ดู ก็จะเห็นจริง ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของสมบัติของตัวเลขที่ชวนให้สนุกกับโลกของความคิดภายใต้กรอบกติกาที่ชัดเจนเป็นสากล

ด้วยความปรารถนาดี

ครูพี

มหาพุทธคุณคุ้มครอง

นัมเมียว โฮเร็ง เงเคียว

 

 

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ผลการสอบกลางภาค 1/57


ครูพีได้ตรวจข้อสอบปลายภาควิชาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ และพีชคณิตเชิงเส้น ในส่วนที่ครูรับผิดชอบสอน ใครใคร่รู้โปรดลิงค์ตามรายการต่อไปนี้


ใครยังไม่ได้สอบให้ติดต่อขอสอบโดยเร็ว มิฉะนั้นผลการสอบก็เป็นศูนย์โดยปริยาย

ด้วยความปราถนาดี
ครูพี

หมายเหตุ

สำหรับผู้เรียนวิชา Topology โปรดลิงค์เข้าทำแบบฝึกหัดด้วย

แบบฝึกหัดวิชาโทโพโลยี

ชุดที่ 1

ชุดที่ 2

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

Z-test เพื่อการวิจัย




สวัสดีครับเพื่อนชาวบล็อก เมื่อเร็ววันนี้ครูพีได้รับการร้องเรียนจากลูกศิษย์ปริญญาโทที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ บอกว่าเข้าบล็อก http://krupee.blogspot.com เพื่อตรวจสอบบทความที่ครูพีเขียนเกี่ยวกับการวิธีการประเมินเพื่อการเปรียบเทียบ RETENSION ระหว่างกลุ่มโดยใช้ร้อยละของค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนของคะแนนหลังเรียน 2 สัปดาห์ (หรืออื่น ๆ ตามสมมุติฐาน)กับคะแนนหลังเรียน ครูพีต้องเข้ามาตรวจสอบ LINK ปรากฏว่ามีปัญหาจริง ๆ และได้ทำการแก้ไขแล้ว  และถือโอกาส นำเสนอ CONTENTS ที่น่าสนใจในการใช้ Z-test เพื่อการวิเคราะข้อมูล จำนวน 6 แบบ แต่ละแบบได้ให้จุดหมาย ข้อจำกัด ระเบียบวิธี และข้อมูลตัวอย่างไว้ให้พร้อม  ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างง่ายดาย  โดยแต่ละ TOPIC มีชื่อดังนี้

Test1 Z-test สำหรับค่าเฉลี่ยของหนึ่งประชากร(ที่ทราบค่าความแปรปรวน)

Test2 Z-testสำหรับค่ามัชฌิมของสองประชากร (ที่ทราบค่าความแปรปรวน  และเป็นค่าที่เท่ากัน

Test3 Z-test สำหรับค่ามัชฌิมของสองประชากร (ที่ทราบค่าความแปรปรวน และเป็นค่าที่ไม่เท่ากัน) 

Test4 Z-test   สำหรับสัดส่วน (การแจกแจงทวินาม )

Test 5   Z-test   สำหรับความเท่ากันของสองสัดส่วน (การแจกแจงทวินาม )

Test 6   Z-test สำหรับการเปรียบเทียบของการนับสองอย่างความเท่ากันของสองสัดส่วน (การแจกแจงปัวส์ซอง )


ลิงค์ข้อมูล



ด้วยความปราถนาดี

ครูพี