ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แผนที่ถูกแบน

แผนการเรียนรู้ หรือแผนการสอน เป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งของครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่บ่งชี้ความชำนาญ หรือเชี่ยวชาญของครูผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง ในการประเมินผลงานทางวิชาการของครูซึ่งต้องมีแผนฯประกอบการทำนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สรรค์สร้างขึ้นมานั้น มีข้อบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงดังต่อไปนี้
1. เด็กแก้ปัญหาไม่ได้คำตอบที่ต้องการ ครูขาดเทคนิคการค้นหาสาเหตุ แต่มักแนะวิธีทำโดยตรง หรือให้เด็กเรียนซ้ำในตัวความรู้
2. การสอนแก้ปัญหา ครูไปเน้นคำตอบถูก หรือ คำตอบผิด แทนที่จะเน้นที่กระบวนการได้มาซึ่งคำตอบ
3. วิธีสอนเน้นบทบาทครูมากกว่าบทบาทของเด็กในการแก้ปัญหา
4. การให้ความรู้มีลักษณะ "การบอก" ความรู้โดยตรงแก่เด็ก
5. สอนความรู้ใหม่โดยไม่ได้ให้เวลาเพียงพอต่อการปรับขยายความรู้เดิม แต่สอนให้จดจำโดยตรง
6. สอนให้เด็กรู้สิ่งใหม่ทันทีโดยไม่ทบทวนแนวคิด/ความคิดรวบยอดเดิม
7. ครูเน้นการจดจำแนวคิดหรือหลักการมากกว่าการสร้างความเข้าใจ และการนำไปใช้ ควรให้เข้าใจแนวคิดหรือหลักการด้วยการให้ตัวอย่างเพิ่มเติมและการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
8. ครูรวบรัดให้ความรู้ แนวคิดหรือกฎเกณฑ์ หลักการ โดยตรง ควรใช้ขั้นตอนการสอนแบบอุปนัย ให้เด็กเข้าใจด้วยการสังเกตและคิดค้นด้วยตัวเขาเอง
9. ขาดการเสริมแร (ให้รางวัล หรือสภาพที่เจ้าตัวพอใจ) และตัวเสริมแรง(ตัวล่อ) การเสริมแรงต้องต่อเนื่องและคงเส้นคงวา
10. สื่อขาดส่วนกระตุ้นให้เด็กคิดคำตอบ ถ้ามีก็มักขาดการตอบสนองตรวจคำตอบเฉลยให้เด็กรู้ผล
11. ควรมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบพื้นฐานความรู้เดิมว่ามีเพียงพอที่จะเรียนหน่วยความรู้นี้หรือไม่ ถ้าบกพร่องก็จัดการสอนหรือพัฒนาสิ่งที่ขาดก่อนที่จะเรียน
12.ควรทดสอบหลังเรียนในแต่ละหน่วยเพื่อตัดสินสัมฤทธิผลโดยใช้เกณฑ์ที่สูง เช่นผ่าน 80% ของคะแนนรวมจึงจะถือว่าผ่านหน่วยนั้น ถ้าไม่ผ่านต้องมีกิจกรรมซ่อมเสริมและทดสอบซ้ำจนแน่ใจว่ามีผลสัมฤทธิ์แท้จริงก่อนจัดการเรียนอื่นในลำดับสูงขึ้นต่อไป
13. นวัตกรรมต้องมิใช่วิธีการพื้น ๆ หรือวิธีการปกติง่าย ๆ แต่ต้องเป็นสิ่งใหม่เสมอ
14. แผนฯใหญ่และซับซ้อน ขาดการจำแนกออกเป็นหน่วยย่อย ๆ
15. หน่วยการเรียนมีจุดประสงค์หลายจุด และขาดความชัดเจน
16. สื่อฯ เน้นหนักทางตัวหนังสือให้อ่าน
17. ท่านเป็นผู้สร้างทฤษฎี หรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจขยายทฤษฎีบางทฤษฎี ริเริ่มเทคนิควิธีใหม่ ๆ เมื่อพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล ควรเสนอในวารสารวิจัยการศึกษา สารพัฒนาหลักสูตร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ รวมถึงการส่งรายงานมายังกรมกองต่าง ๆ ที่จะให้ผลประโยชน์ด้วย
18. เด็กทุกคนเรียนรู้สิ่งเดียวกันด้วยเทคนิควิธีสอนเดียวกัน กิจกรรมอย่างเดียวกัน บังคับกำหนดเวลาเท่ากัน ให้บรรลุผลเท่ากัน ขาดการส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล
19. ครูยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรเป็นศูนย์กลาง ไม่สนใจการสร้างแรงจูงใจ ควรจะ เริ่มด้วยปัญหา จัดสิ่งแวดล้อมสร้างแรงจูงใจ และเด็กมีส่วนร่วมในการอภิปราย
20. เน้นความรู้ ความจริงตามเนื้อหาแบบตรงไปตรงมามากเกินไป เนื้อหาสำคัญกว่าวิธีการ
21. มีการทดสอบน้อยมาก ถ้ามีก็เป็นความรู้ ความจำ ไม่มีการตัดสินผล ไม่ได้นำผลการทดสอบมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น