ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ผลงานทางวิชาการ:มุมมองที่ต้องตรอง

มีมุมมองของผู้ประเมินผลงานทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้นำเสนอให้ครูอาจารย์ได้ัรับรู้และเข้าใจเป็นพื้นฐานเพื่อประกอบการใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดเตรียมการจัดทำ ดังนี้
1. เนื้อหาต้องครบถ้วนตามหลักสูตร หรือมีความสอดคล้องเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการจัดทำผลงานนั้น ๆ ต้องตรงกับชื่อเรื่อง เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบันและวัยของผู้เรียนด้วย
2. เนื้อหาแต่ละบทควรให้มีความสมดุลกัน ถ้าบทใดมีความยาว และมีเนื้อหามากเกินไปก็ควรตัดตอนให้เหมาะสม หรือแบ่งเป็นอีกบทเพิ่มเติม และเนื้อหาต้องถูกต้องกระจ่างชัด ไม่ขัดแย้งและซ้ำซ้อนกัน
3. วิธีการนำเสนอ และการเีรียบเรียงต้องน่าสนใจต่อเนื่องไม่สับสน และบางครั้งต้องมีตัวอย่างประกอบ เพื่อสร้างความเข้าใจหรือเป็นการฝึกทักษะแก่ผูเีรียน จะทำให้เนื้อหาสาระสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. การใช้ภาษา การใช้คำนิยามศัพท์ ต้องเหมาะสมและถูกต้อง
5. การทำผลงานทางวิชาการ ควรมีรูปแบบเป็นมาตรฐานตามแบบของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ รูปแบบของตำรา ควรมีปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อหา เชิงอรรถ บรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี เป็นต้น หรืองานวิจัยที่ควมีรูปแบบมาตรฐานของงานวิจัย แต่ละรูปปแบบต้องจัดทำอย่างประณีต โดยต้องศึกษาให้ดีก่อน
6. การอ้างอิงทั้งเชิงอรรถและบรรณานุกรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานวิชาการสมบูรณ์ น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นการศึกษาค้นคว้าของผู้ขอ จึงต้องจัดทำให้ถูกต้องตามหลักการเขียนทั้งเชิงอรรถและบรรณานุกรม โดยอาจยึดรูปแบบอย่างของสถานศึกษาใดก็ได้โดยมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วนทันสมัย และควรเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม
7. การพิมพ์และการพืสูจน์อักษร ควรจัดทำอย่างประณีต เพราะเป็นการแสดงถึงคุณภาพหรือข้อบกพร่องของผลงานได้อย่างชัดเจนที่สุดไม่ควรแก้ไขโดยการลบแล้วเติมด้วยปากกา
8. การทำผลงานนี้ ควรมีความคิดิเิ่มสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นปะโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชากา ตลอดจนปะโยชน์ต่อนักเียน นักศึกษาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น