ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ผลงานทางวิชาการ

1. คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการในมหาวิทยาลัย

1.1 เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชา และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ

1.2 เอกสารคำสอน หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีกาสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบู์มากกว่าเอกสารประกอบการสอน

1.3 บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการและมีการสรุปประเด็น อาจมีการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน

1.4 ตำรา หมายถึงเอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำราในรูปของสื่ออื่น ๆ เช่น ซีดีรอม หรือใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่น ๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
1.5 หนังสือ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่น ๆ ประอบกันตามความเหมาะสม

1.6 งานวิจัย หมายถึง งานค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักการหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา

1.7 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายถึง ผลงานอย่างอื่นที่มิใช่เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ บทความทางวิชาการ ตำรา หรือ งานวิจัย โดยปกติหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ อาทิ เครื่องทุ่นแรง ผลงานการสร้างสิ่งมีชีวิตพันธ์ุใหม่ วัคซีน หรือสิ่งก่อสร้าง ผลงานศิลปะ ฯลฯ ผลงานทางวิชาการดังกล่าวอาจบันทึกเป็นภาพยนต์หรือแถบเสียงก็ได้
รวมถึงงานแปลจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรมหรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาอื่นบางสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขานั้น ๆ ซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการที่ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลจากภาษาต่างประเทศหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เสนอจะต้องประกอบด้วย คำอธิบายที่ชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือให้วิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชานั้น และแสดงถึงความสามารถในการบุกเบิกในสาขาวิชานั้น สำหรับผลงานที่มุ่งเชิงปฏิบัติจะต้องผ่านการพิสูจน์ หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบการแสดงให้เห็นคุณค่าของผลงาน

2. ระดับผลงานทางวิชาการจำแนกตามระดับคุณภาพ

2.1 ตำรา

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และ ทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
2) มีการสอดแทรกความคิดริเิ่ริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3) สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง
3) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติหรือนานาชาติ


2.2 หนังสือ

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และ ทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
2) มีการสอดแทรกความคิดริเิ่ริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
3) สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2) มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง
3) เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

2.3 งานวิจัย

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นงานวิจัยที่มีความถูกต้องเหมาะสมทั้งในระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลและการนำเสนอผล ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปประยุกต์ได้ ทั้งนี้ต้องได้รับการตีพิมพ์ และเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) เป็นผลงานที่แสดงถึงความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว
2) เป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวาง หรือสามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างแพร่หลาย

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสูง
2) เป็นที่ยอมรับในววิชาการหรือวิชาชีพ และ/หรือระดับนานาชาติ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นผลงานใหม่ หรือเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ด้วยวิธีการใหม่ ๆ และผลงานนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่ง

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังนี้
1) ได้รับการรับรองโดยองค์กรทางวิชาการหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในสาขาที่เสนอหรือได้รับการเผยแพร่ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง
2) เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้องเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงวิชาการ และ/หรือ วงวืชาชีพทั้งในระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ


2.5 งานแปล

ระดับ : ดี คำจำกัดความ :เป็นงานแปลที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในตัวบท แบบแผนความคิด และ/หรือ วัฒนธรรมต้นกำเนิด และบ่งชี้ความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างดี มีการศึกษาวิเคราะห์และตีความทั้งตัวบทและบริบทของตัวงานใลลักษณะที่เทียบได้กับงานวิจัย มีการให้อรรถาธิบายเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ อันเหมาะสมทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค

ระดับ : ดีมาก คำจำกัดความ :เป็นงานแปลที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งในตัวบท แบบแผนทางความคิด และ/หรือ วัฒนธรรมต้นกำเนิด และบ่งชี้ถึงความสามารถในการสื่อความหมายซึ่งสูงมาก มีการศึกษาวิเคราะห์และตีความทั้งตัวบทและบริบทของตังงานอย่างละเอียดลึกซึ้งในลักษณะที่เทียบได้กับงานวิจัยของผู้สันทัดกรณี มีการให้อรรถาธิบายเชืงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ อันเหมาะสมทั้งในระดับมหัภาค และจุลภาค

ระดับ:ดีเด่น คำจำกัดความ : ให้ข้อสรุปในด้านวิธีการแปลและทฤษฎีการแปลใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากโดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1) เป็นงานแปลที่มาจากต้นแบบที่มีความสำคัญในระดับที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ
2) เป็นงานที่แปลอยู่ในระดับที่พึงยึดถือเป็นแบบฉบับได้
3) มีการให้ข้อสรุปในด้านของวิธีการแปล และทฤษฎีการแปลที่มีลักษณะเป็นการบุกเบิกทางวิชาการ



3. ลักษณะของการตีพิมพ์เผยแพร่
3.1 เอกสารประกอบการสอน ลักษณะการตีพิมพ์ : ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
3.2 เอกสารคำสอน ลักษณะการตีพิมพ์ : ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม
3.3 บทความทางวิชาการ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม หรือทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์
2) ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความหรือเอกสารวิชาการในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการตรวจสอบคุณภาพ
3.4 ตำรา ต้องได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนและได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาก่อนนำเสนอ

3.5 หนังสือ ต้องได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์โดยได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาก่อนนำเสนอ

3.6 งานวิจัย เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ
2) ตีพิมพ์ในหนังสือรวมงานวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งเป็นงานที่ได้รับเชิญให้เขียน และ/หรือ มีกองบรรณาธิการตรวจสอบ
คุณภาพ
3) นำเสนอในรูปเอกสารวิชาการต่อที่ประชุมทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขานั้น ๆ โดยมีการนำไปรวมเล่ม
เผยแพร่ในรูปหนังสือรวมเอกสารวิชาการจากการประชุมครั้งนั้น (Proceeding)
4) ในกรณีที่งานวิจัยฉบับสมบูรณ์มีความยาวขนาดเล่มหนังสือจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปเผย
แพร่ยังสถาบันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น