การประเมินโครงงานคณิตศาสตร์
ในการประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ที่ส่งเข้าประกวดในเวทีต่าง ๆ นั้น มีรายการและคะแนน ที่คณะกรรมการประเมินจะพิจารณา
ดังนี้
1 ความสำคัญของการจัดทำโครงงาน ( 20 คะแนน )
1.1 การริเริ่มโครงงาน (นักเรียนริเริ่มเองหรือครูช่วยแนะแนวทาง) (6 คะแนน)
1.2 ความสำคัญหรือความน่าสนใจของโครงงาน ( 7 คะแนน )
1.3 ความเกี่ยวพันธ์กับเนื้อหาในบทเรียนสอดคล้องกันหรือไม่ (7 คะแนน )
2. เนื้อหาของโครงงาน ( 40 คะแนน )
2.1 ความถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ ( 10 คะแนน )
2.2 ประโยชน์ของโครงงาน ( 10 คะแนน )
2.3 การดำเนินงานตามแผน ( 10 คะแนน )
2.4 ความสอดคล้องเหมาะสมถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ตรงประเด็นปัญหา ( 10 คะแนน )
3. การเขียนรายงานโครงงาน ( 20 คะแนน )
3.1 ปกหน้า ( 5 คะแนน )
3.2 บทคัดย่อ ( 5 คะแนน )
3.3 เนื้อหาของโครงงาน ( 5 คะแนน )
3.4 เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ( 5 คะแนน )
4. การแสดงผลงาน ( 20 คะแนน )
4.1 การจัดทำแผงโครงงาน
4.1.1 ได้มาตรฐาน ( 3 คะแนน )
4.1.2 สวยงาม สร้างสรรค์ ประหยัด ( 3 คะแนน )
4.1.3 เนื้อหาครบถ้วน ( 4 คะแนน )
4.2 การนำเสนอ
4.2.1 นำเสนอได้ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ( 5 คะแนน )
4.2.2 การตอบคำถาม ( 5 คะแนน )
รวมคะแนนทั้งสิ้น 100 คะแนน
หมายเหตุ จากประสบการณ์ในการตรวจประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ในเวทีต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตที่ ครู/อาจารย์ ที่ปรึกษาโครงงาน และคณะนักเรียนผู้เป็นเจ้าของโครงงานควรตระหนักรู้ ใส่ใจ ดังนี้
1. การเขียนรายงานโครงงาน มีข้อบกพร่องอย่างมาก เขียนผิดพลาด ตกหล่น สะกด คำไม่ถูกต้อง กระจายอยู่ทั่วไปแสดงให้เห็นถึงการขาดความรอบคอบ ความละเอียด ประณีต ไม่สมกับที่เป็นโครงงานที่ส่งเข้าประกวด ครู/อาจารย์ ที่ปรึกษาควรกำชับตรวจทาน เพราะมีผู้เข้าชมที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก มันหมายถึงชื่อเสียงของโรงเรียนด้วย ควรมีระบบการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน ถ้าเป็นไปได้ควรมีที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้วยเพื่อการตรวจสอบรูปแบบ การเขียนรายงานที่สมเหตุสมผล
2. นักเรียนเจ้าของโครงงานขาดความรู้ที่เป็นหลักสำคัญที่ใช้ในการทำโครงงานที่ตนทำนั้น แล้วจะทำให้กรรมการผู้ประเมินเชื่อได้อย่างไรว่าเป็นผลงานของตน ดังนั้นเจ้าของโครงงานจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับโครงงานที่ตนทำเป็นอย่างดี มิใช่ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ โครงงานจะดีเพียงใดก็ทำให้เสียคะแนนได้
3. คำนึงถึงเนื้อหาสาระของโครงงานนั้นว่าตรงกับระดับที่ส่งเข้าประกวดหรือไม่ เพราะเมื่อเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ส่งเข้าประกวดในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ย่อมไม่เหมาะสม
เป็น blog ที่ให้ความรู้ดีมากเลยค่ะ
ตอบลบจะติดตามอ่านต่อไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ