ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ประเด็นหลักในการประเมินสื่อเทคโนโลยี ประเภทคอมฯช่วยสอน

ในการตรวจประเมินสื่อเทคโนโลยี ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น กรมวิชาการใช้เกณฑ์การตรวจตามแบบการตรวจประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกรมวิชาการ ปีการศึกษา 2541 ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กระทรวงศึกษาแต่งตั้งขึ้น โดยมีประเด็นหลักในการตรวจประเมินดังนี้
1. ส่วนนำของบทเรียน เร้าความสนใจ มีข้อมูลพื้นฐานบทเรียนที่จำเป็น มีเส้นทางการเดินของบทเรียนเหมาะสม
2. ส่วนเนื้อหาสาระของบทเรียน พิจารณาด้านความถูกต้อง ความสอดคล้องกับหลักสูตรสัมพันธ์ต่อเนื่อง ความยาวและความยากง่ายเหมาะสม ความถูกต้องของการใช้ภาษา การสื่อความหมายชัดเจน ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ
3. ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสม ออกแบบด้วยการคิดเชิงตรรกะที่ดี พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีความยืดหยุ่น สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีกลยุทธ์การถ่ายทอดเนื้อหาที่น่าสนใจ
4. ส่วนประกอบมัลติมีเดีย การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสม ง่ายต่อการใช้ ภาพประกอบ ขนาด สี ตัวอักษร เสียง ดนตรี ชัดเจนและเหมาะสม บทเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้เรียนสามารถควบคุมเส้นทางการเดินของบทเรียน และการให้ผลย้อนกลับผู้เรียนเหมาะสม
5. ส่วนประเมินการเรียนรู้ สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ความยากง่ายพอเหมาะ ส่งเสริมทักษะการคิดการประยุกต์ใช้ มีรูปแบบหลากหลาย และมีปริมาณเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเองได้ และสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้
6. องค์ประกอบทั่วไป ติดตั้งง่าย สะดวกเหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน

ในการประเมินสื่อดังกล่าวนี้ ทั้งในระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีข้อสังเกตเกี่ยวกับเหตุผลที่การตรวจประเมินฯผ่านและไม่ผ่านดังนี้
1. เหตุผลส่วนใหญ่ของสื่อฯที่ตรวจประเมินผ่าน คือ มีคะแนนเฉลี่ยผ่าน คือ ตามเงื่อนไขของการตรวจประเมินฯ นำเสนอเนื้อหาน่าสนใจ ให้ประโยชน์ในการเรียนรู้ นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ได้ มีจ้อผิดพลาดน้อยและไม่เป็นประเด็นสำคัญ
2. เหตุผลส่วนใหญ่ของสื่อฯ ที่ตรวจประเมินไม่ผ่าน คือไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินฯ ตามแบบการตรวจประเมินฯของกรมวิชาการในประเด็นหลัก เช่น ความถูกต้องของเนื้อหา การใช้ภาษาไม่ชัดเจน ไม่สื่อความหมาย การนำเสนอเนื้อหาไม่ตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ที่นำเสนอ การทดลองทางแบบวิทยาศาสตร์ไม่ชัดเจน นำไปปฏิบัติได้ยาก ภาพประกอบ เสียง ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ไม่ถูกต้องเหมาะสม ปัญหาข้อผิดพลาดการออกแบบของโปรแกรม(bug) รวมทั้งการจัดทำที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ขาดการตรวจสอบก่อนส่งเข้ารับการประเมินฯ
นอกจากนี้ยังมีสื่อที่ตรวจประเมินไม่ผ่าน มีโครงสร้างการนำเสนอเนื้อหาเร้าความสนใจได้ดี เทคนิคการออกแบบนำเสนอดีแต่ยังมีข้อผิดพลาดที่จำเป็นต้องแก้ไข เช่น ความถูกต้องของเนื้อหา ความชัดเจนของการใช้ภาษา การอธิบายที่ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหา ความชัดเจนของการทดลอง สื่อฯแต่ละโปรแกรมมีจุดบกพร่องที่แตกต่างกันหากได้รับการปรับปรุงแก้ไขก็จะผ่านการประเมินได้




อ้างอิง : สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2541
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น