ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

บทเรียนสำเร็จรูป

การพัฒนานวัตกรรมในปัจจุบันแห่งศตวรรษที่ 21 ในยุคหลังนวยุค (Post Modern) อันเป็นยุคแห่งปัญญาซึ่งต้องแข่งขันและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขด้วยความฉลาดทางปัญญาที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อประสิทธิผลแก่ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่สุด มิใช่ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดอีกต่อไป แก่นแห่งปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ได้อย่างเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน การตระหนักรู้ในโลกที่เป็นพลวัต ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" ทุกการสร้างสรรค์บนฐานของงานวิจัยใดก็ตามมักจะมีการทำลายล้างแฝงเร้นอยู่เสมอ ดังนั้นการใช้พลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมจึงจะต้องดำเนินการอย่างมีสติคำนึงถึงผลได้ ผลเสีย ให้คุ้มกับทรัพยากรที่ลงทุนไป
บทเรียน e_Learning ซึ่งพัฒนาขึ้นมาในรูปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAL - Computer Assisted Learning หรือ CAI - Computer Assisted Instruction) จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ อันเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาทางสติปัญญา โดยคำนึงถึงความแตกต่าง และธรรมชาติของจริตที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ การเรียนรู้ โดยผ่านสื่อประสม(Mutimedia) e-Learning เป็น Platform ที่สมจริงสอดคล้องกับสถานการณ์ของการเรียนรู้ เพราะเป็นการบูรณาการทั้งสิ่งเร้าภายใน และ ภายนอก การตอบสนองและการเสริมแรงที่เหมาะสมผสมผสามเข้าไปในกระบวนการโดยผู้เรียนสามารถควบคุมบทเรียนได้ด้วยตนเอง ย่อมเป็นการเอื้อโอกาสอย่างเหมาะสมต่อประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนและก่อประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนรู้ให้ปัจเจกชนได้เป็นอย่างดี เป็นวิถีการเรียนรู้ที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บนความมีอิสระ เป็น Active Life มิใช่ Passive Life สนองตอบต่อความหลากหลายที่งดงามในชีวิตแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างเหมาะสม
เนื่องจากบทเรียน CAL เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Lesson) ดังนั้นผู้พัฒนาจึงควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี
บทเรียนสำเร็จรูป เป็นนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ คือ
1. ผู้เรียน และ ผู้สอน มีปริมาณไม่สมดุลกัน
2. รัฐไม่มีเงิน (งบประมาณ) มาสร้างอาคารเรียนให้เพียงพอกับความต้องการได้
ดังนั้นจึงต้องให้แบบเรียนชนิดที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่ผู้พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปควรต้องรู้ ในที่นี้ผู้เขียนจะเรียบเรียงลำดับสาระนำเสนอดังนี้

1. ความหมาย บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อการสอนแบบหนึ่งซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเรียนได้เร็วหรือช้าตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยไม่ต้องเสียเวลารอคอยกัน การเรียนนั้นผู้เรียนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบทเรียนนั้นอย่างเคร่งครัดและด้วยความซื่อสัตย์

2. ลักษณะของบทเรียน
1) เป็นความรู้ย่อย ๆ ซึ่งเรียงลำดับไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปทีละน้อย ๆ จากสิ่งที่รู้แล้วไปยังสิ่งที่รู้ใหม่ เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียนไปในตัว
2) ผู้เรียนต้องปฏิบัติหรือตอบคำถามแต่ละกรอบ(frame) ไปตามวิธีที่กำหนดให้
3) นักเรียนจะได้ทราบผลการตอบทันทีโดยในบทเรียนจะมีคำตอบไว้ให้
4) ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลา การใช้เวลาศึกษาบทเรียนขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความสามารถของแต่ละบุคคล

3. จิตวิทยาพื้นฐาน
บทเรียนสำเร็จรูปยึดถือหลักจิตวิทยาของ
1) S-R Theory ของ Thorndike โดยยึดหลัก "การเร้าและการตอบสนอง"
เร้า : ให้ความรู้
ตอบสนอง : ผู้เรียนลงมือทำ
Thorndike เชื่อว่า "ความสำเร็จหรือการตอบสนองที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป"
2) Reinforcement Theory ของ Skinner โดยยึดหลักการเสริมแรงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจที่จะเรียนต่อ การเสริมแรงในบทเรียนสำเร็จรูปใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบผลว่า ถูก หรือ ผิด ทันที
Skinner พยายามหาวิธีเพื่อไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาดโดยวิธีให้ความต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียด
นอกจากนี้ Hull ยังให้ความเห็นเสริมกับ Skinner ว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

4. ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูป แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Linear Programming และ Branching Programming

5. ขั้นตอนในการเขียนบทเรียนสำเร็จรูป
1) วางแผนทางวิชาการ
1.1) กำหนดเนื้อหาวิชา และ ระดับชั้น
1.2) ตั้งจุดมุ่งหมาย
1.3) วิเคราะห์เนื้อหา เป็นการแตกเนื้อหาให้ละเอียด เรียงลำดับจากง่ายไปยากโดยวิธีวิเคราะห์ภาระกิจ(Task Analysis) เพื่อ
ป้องกันไม่ให้เนื้อหาที่จะเรียนนั้นกระโดดห่างกันอันเป็นเหตุให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
1.4) สร้างแบบทดสอบ
2) ขั้นดำเนินการเขียน
2.1) เขียน Criterion Frame
2.2) เขียน Teaching Frame
2.3) นำออกทดลองใช้เป็นบุคคล
2.4) นำออกใช้กับกลุ่มเล็ก
2.5) นำออกใช้กับห้องเรียน
3) ขั้นการใช้ผลิตผล เป็นการนำออกใช้และปรับปรุงเพิ่มเติม


5. การเขียนบทเรียน
เขียนไปทีละเนื้อหา (ที่วิเคราะห์ไว้ดีแล้ว)
1) เขียน Criterion Frame (CF) เขียนกรอบสุดท้ายของแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ เพื่อให้ได้ผลตามจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ดังนั้เนื้อหาแต่ละเรื่องอาจมีหลาย CF และนำไปไว้ท้ายกรอบสอน
2) เขียน Teaching Frame (TF) การเขียนกรอบสอนโดยเขียน Set Frame (SF) ซึ่งเป็นการเริ่มให้ความรู้ในเนื้อหาที่จะเรียนซึ่งเรียกว่า Prompt SF ----->PF โดยที่ PF คือ Practice Frame

(ควรศึกษาตัวอย่าง รูปแบบการเขียนFrames ต่าง ๆ จาก ตำรา/หนังสือ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง)

6. การนำออกทดลองใช้(Try out) และปรับปรุงแก้ไข(Revision)
เป็นเรื่องสำคัญเพราะทำให้ผู้เขียบบทเรียนทราบข้อบกพร่องต่าง ๆ เมื่อนำออกใช้เพื่อจะได้นำกลับมาปรับปรุงแก้ไขต่อไปซึ่งมีหลายวิธี
6.1) นำออกมาทดลองรายบุคคลและปรับปรุงแก้ไข (One to one testing or Individual try out and Revised) ควรเลือกเด็กที่เรียนอ่อนหรือปานกลาง อาจพิจารณาจากผลการเรียนของเด็ก เพราะว่าถ้าเด็กเรียนอ่อนเรียนได้ก็ย่อมมั่นใจว่าเด็กฉลาดย่อมไม่มีปัญหา ก่อนเรียน Pretest ก่อนเพื่อทดสอบความรู้ หลังเรียนจบก็ Posttest เพื่อดูการพัฒนาการของความรู้
ในขณะกำลังเรียนบทเรียน เราต้องคอยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมตามไปด้วยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขและปรับปรุงบทเรียนต่อไปแต่อย่าให้ผู้เรียนรู้เพื่อจะทำให้เกิดความวิตกกังวล
การทดลองรายบุคคลนี้จะต้องทำไปทีละคน ประมาณ 3-4 คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็นำมาปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไขบทเรียน
(1) ปรับปรุงความถูกต้องของเนื้อหา (Technical accuracy) ให้ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชานั้นโดยเฉพาะช่วยตรวจดูความถูกต้อง
ของเนื้อหา
(2) การแก้ไขทางเทคนิคการเขียน(Programming Technique) เช่น แก้ไขไม่ให้ Frame กระโดดข้ามจนผู้เรียนไม่เข้าใจ
Fame ถี่เกินไปจนน่าเบื่อ Frame ฝึกฝนน้อยเกินไป จนผู้เรียนไม่เข้าใจเนื้อหา
ต้องปรึกษากับผู้ชำนาญการเขียนบทเรียนโปรแกรมด้วย
(3) การแก้ไขภาษา (Composition) ภาษาอาจอ่านเข้าใจยาก หรือเกิดความสับสน การแบ่งวรรคตอนไม่ดีทำให้ผู้อ่านงง ความ
เหมาะสมของตัวอย่างอื่น ๆ ต้องแก้ไขโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.2) การทดลองเป็นกลุ่มเล็กและปรับปรุงแก้ไข (Small group testing or group tryout Revised) อาจจัดเป็นกลุ่มละ 5-10 คน ต้องบันทึกผลเพื่อนำมาปรับปรุง ก่อนทดลองต้อง pretest หลังต้อง posttest
6.3) การทดลองกับห้องจริงและปรับปรุงแก้ไข (Field Testing or Field tryout and Revised) มีการบันทึกรายละเอียดเพื่อนำข้อมูลไว้เป็นหลักฐานในการปรับปรุงบทเรียนต่อไปเพราะว่าในอนาคตบทเรียนนี้อาจต้องแก้ไขอีกเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปนั่นเอง
ในการทดลองกับกลุ่มเล็กและห้องเรียนจริง หลังจากผู้เรียนเรียนบทเรียนเสร็จแล้วผู้ทดลองควรซักถามถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เขาพบในการเรียนบทเรียนด้วยแล้วบันทึกไว้ในช่อง "บันทึกพฤตืกรรมเพิ่มเติม" เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง


ึ7. ขั้นใช้ผลิตผล (Implementation)
เป็นขั้นที่นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ได้ทดลองครบตามขบวนการมาใช้กับผู้เรียนทั่วไป ผู้สร้างต้องคอยฟังผลจากผู้เรียนเสมอเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงต่อไปเพื่อให้บทเรียนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น