ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ความคงทนในการเรียนรู้/ความคงทนในการจำ
สารบัญบทความ
อนุสนธิจากการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทคณิตศาสตร์ศึกษา ที่วิจัยในเชิงเปรียบเทียบ ความคงทนในการเรียนรู้ (Retention) หรือ ความคงทนในการจำ จากการสอนโดยใช้นวัตกรรมที่แตกต่างกัน
ปัญหาของเรื่องนี้คือผู้วิจัยจะใช้วิธีการนำคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมนั้น ๆ แล้วสองสัปดาห์ (อาจมากหรือน้อยกว่านี้) มาทดสอบนัยสำคัญตามระดับที่ตั้งไว้เพื่อการตัดสินใจว่าเป็นไปตามสมมุติฐานเกี่ยวกับความคงทนในการเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ ...เป็นการถูกต้องเหมาะสมหรือไม่...ซึ่งกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการสอบเค้าโครงบางท่านมีความเห็นแย้งว่าการดำเนินการเช่นนั้นมันไม่น่าจะเป็นการวัีดความคงทนในการเรียนรู้ ที่ถูกต้องแล้วมันต้องวัดความคงทนในการเรียนรู้เฉพาะในแต่ละนวัตกรรมโดยการนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนและหลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ (หรือมากน้อยกว่านี้ตามเกณฑ์ที่ใช้เป็นหลัก) มาทดสอบเปรียบเทียบกันและตัดสินว่าในแต่ละวิธีนั้นมีความคงทนในการเรียนรู้จริงหรือไม่เท่านั้น การนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนแล้วสองสัปดาห์ของแต่ละวิธีมาเปรียบเทียบกันแล้วตัดสินใจไปว่าวิธีใดมีความคงทนในการเรียนรู้มากน้อยกว่ากันเป็นการเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนไม่ได้ เพราะคะแนนเฉลี่ยดังกล่าวมิใช่ตัวชี้วัดความคงทนในการเรียนรู้(ครูพีก็ไม่ทราบด้วยซิว่าทำไมไม่เป็น เพราะการคงความรู้ไว้ได้หลังจากการเรียนผ่านไปแล้ว จะไม่เรียกว่าความคงทนในการเรียนรู้หรือความคงทนในการจำแล้วก็ไม่รู้ว่าจะให้เรียกว่าอะไร) ตัวผู้สอบเค้าโครงฯเองซึ่งน่าจะเป็นผู้ที่รู้เรื่องราวของสิ่งที่ตนจะวิจัยได้ดีที่สุดกลับตอบคำถามแบบ อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ หาเหตุผล หลักฐานมาชี้แจงอ้างอิงไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยยังขาดการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดความคงทนในการเรียนรู้ในเชิงการเปรียบเทียบอย่างหลากหลาย เวลาสอบต้องมีความมั่นใจ สิ่งใดที่คิดว่ากรรมการสอบจะถามอาจจำเป็นต้องเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อการนำมาแสดงให้ประจักษ์ว่ากระบวนวิธีดังกล่าวนั้นได้มีการใช้ทั่วไปในแวดวงวิชาการในเรื่องนั้น ๆ เพราะกรรมการสอบเองถ้ามิใช่ผู้เชี่ยวชาญและเคยวิจัยในเรื่องในลักษณะเช่นนั้นมาย่อมสงสัย ใคร่ถามได้ ... ต้องเตรียมให้พร้อม...ในเรื่องนี้ผู้สอบเองต้องรู้เรื่องดีที่สุดและสามารถฝ่าด่านคำถามไปได้ด้วยความมั่นใจ ตอบโต้หักล้างด้วยเหตุผลเชิงวิชาการกับกรรมการผู้ทำการสอบได้ มิใช่เป็นนาย"ครับผม"ตลอดการสอบ แสดงให้เห็นความหน่อมแน๊มของเจ้าตัวอย่างน่าหมั่นไส้ ถูกรุกไล่จนแต้มบนเวที...ให้มันได้อย่างนี้ซิน่า!
มุมมองนี้ครูพีเห็นว่าการนำคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสิ้นสุดลงแล้ว 2 สัปดาห์ (หรือต่างจากนี้) ของแต่ละนวัตกรรมมาเปรียบเทียบกันนั้นมันเป็นการถูกต้องแล้วเพราะถ้าเราพิจารณานิยามศัพท์เฉพาะที่ผู้วิจัยเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ได้ตั้งไว้จะเป็น ดังนี้
ความคงทนในการเรียนรู้ หมายถึง ปริมาณความรู้ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่นักเรียนยังสามารถระลึกได้จากคะแนนตอบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการทดสอบ 2 สัปดาห์
....แต่ถ้าตั้งต่างจากนี้ ก็ตัวใครตัวมัน!
ถ้ากำหนดแนวคิดไว้เช่นนี้ก็คงไม่มีใครตีความกันไว้เป็นอย่างอื่น มันสามารถนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ของแต่ละนวัตกรรมมาเปรียบเทียบกัน แล้วตัดสินเกี่ยวกับความคงทนในการเรียนรู้ได้อย่างแน่นอน และการนิยามศัพท์เฉพาะไว้เช่นนี้เป็นข้อกำหนดที่รับรู้กันโดยทั่วไปในวงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้หรือความคงทนในการจำ
ผู้อ่านที่สนใจอาจค้นคว้าศึกษาจากงานวิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยลัยขอนแก่น ปี 2541 เรื่อง "การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ระหว่างวิธีสอนที่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้ากับการสอนตามปกติ ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1" ของรุ่งทิวา ศิริภักดิ์ ซึ่งมี รศ.ดร.เพ็ญณี แนรอท เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาฯ และ รศ.วิมล สำราญวานิช เป็นกรรมการที่ปรึกษาฯ ซึ่งมีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลของเรา ยืมไปอ่านซะบ้างจะได้ชัดเจน มั่นใจ ขึ้น และยังมีงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกหลายเล่ม ลองเข้าไปสืบค้นดู
"ค้นให้มาก อ่านให้มาก เมื่อรักจะทำอะไรให้ได้ดี งานวิจัยเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง ตรรกะและเหตุผล มิใช่ความรู้สึกว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น ทุกอย่างต้องมีหลักเกณฑ์อ้างอิงได้"
ด้วยความปราถนาดี
ครูพี/
ข้อคิด เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมและสร้างสุขนิสัย
จงกำหนดเป้าหมายการทำงาน และเป้าหมายการศึกษา
ขอให้กำหนดเป้าหมายการทำงาน และเป้าหมายการศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาวแล้วเดินไปตามนั้น... เรือที่แล่นไปในทะเลโดยไร้เป้าหมายก็คงจะเคว้งคว้าง อัปปางกลางทะเล ไม่ถึงฝั่งแน่ ชีวิตที่ขาดเป้าหมายก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ดังใจปราถนา...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
มาลงชื่ออ่านครับ
ตอบลบขอบคุณคะ
ตอบลบขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์
ตอบลบอยากทราบชื่อจริงของอาจารย์ค่ะ จะได้อ้างอิงในรายงานได้ค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ