ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ร้อยละของความคงทนในการเรียน




สารบัญบทความ

เปรียบเทียบความคงทนอย่างไรให้กระจ่าง


        วันนี้ครูพีขอนำเรื่องราวของ "ความคงทนในการเรียน"  หรือ "ความคงทนในการเรียนรู้" หรือ "ความคงทนในการจำ" มากล่าวไว้อีกครั้งหนึ่งเพื่อเพิ่มมุมมองแก่ผู้อ่านให้หลากหลายมากขึ้น  โดยนำเสนอสาระที่พิจารณาแล้วว่ามันน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเปรียบเทียบ Retention ของผู้เรียนจากผลการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาที่แตกต่างกันสองแบบ และเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดทั้งในแง่เนื้อหาสาระ ความสมเหตุสมผลเชิงวิชาการให้กับนักศึกษาผู้ทำวิทยานิพนธ์ รวมทั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่มีมุมมองที่แตกต่างกันในวิธีการเปรียบเทียบ Retention ของผู้เรียน

แนวคิดของ Retention คือ "ความสามารถในการเก็บรักษา หรือการสงวนความรู้ ความจำ ตลอดจนความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้ว" โดยทั่วไปในการวัด Retention นั้นผู้วิจัยจะวัดหลังจากสอบหลังเรียนแล้วในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปก็ประมาณ 1 เดือน หลายสถาบันนิยมวัดหลังเรียนแล้วสองสัปดาห์ ซึ่งในที่นี้ครูพีขออ้างอิงเป็นสองสัปดาห์ก็แล้วกันเพื่อให้สอดคล้องกับงานของนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ ที่พิจารณาตามหลักการแล้วว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดความคงทนในการเรียน

เมื่อได้ผลการสอบหลังเรียน และ หลังเรียนแล้วสองสัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างอิสระสองกลุ่มที่ให้นวัตกรรมที่แตกต่างก่อนสองวิธี  ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มซึ่งมีลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ดังนี้

1. นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสองครั้งมาคำนวณหาค่าร้อยละของคงทนในการเรียนโดยใช้สูตร

     ค่าร้อยละของความคงทนในการเรียน  = (คะแนนครั้งหลัง / คะแนนครั้งแรก) x 100

2. นำค่าร้อยละของความคงทนในการเรียนมาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

3. ทดสอบความแปรปรวนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มโดยใช้การทดสอบค่า F (F-test)

4. จากการทดสอบ F ถ้าไม่มีนัยสำคัญใช้สูตร t  ในกรณี variances เท่า   มิฉะนั้นก็ใช้สูตร t ในกรณี variances ไม่เท่า  เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนของสองกลุ่ม


        สุดท้ายนี้ครูพีก็หวังอย่างยิ่งว่าผู้อ่าน หรือลูกศิษย์ ก็จะได้ข้อสรุปที่ทำให้สบายใจในการใช้สถิติเพื่อการเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้จากการใช้นวกรรมสองอย่างกับกลุ่มตัวอย่างอิสระสองกลุ่ม  ว่ามหากาพย์เรื่องนี้จะทำดีที่สุดอย่างไร   หมดหน้าที่ของครูพีแล้วนะ แต่ขอฝากไว้ว่าอะไรที่ไม่เคยใช้ ก็ต้องศึกษาสืบค้นข้อมูลให้กระจ่างชัด อ่านหลักการ หรือทฤษฎีให้เข้าใจ แต่นั่่นมันไม่เพียงพอหรอกนะ่  ต้องดูตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดตัวแปรนั้นให้กว้างขวางหลากหลายไม่เป็นกบในกระลาครอบ  เปิดใจโดยมีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอรองรับที่จะทำความเข้าใจในสิ่งนั้นให้แจ่มกระจ่าง


ด้วยความปราถนาดี

ครูพี







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น