ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิยามศัพท์ที่สับสน

เมื่ออ่านนิยามศัพท์เฉพาะในบทที่1 ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงการวิจัย ของผู้ทำการวิจัยแล้วเห็นความสับสนอลม่านของการวางลำดับของคำศัพท์ต่าง ๆ ว่ายังขาดระบบการจัดเรียงที่เหมาะสม นิยามใดควรวางไว้ก่อนหลังควรตระหนักถึงความสำคัญด้วย มิใช่ว่าใส่ไว้อย่างไรก็ได้ขอให้ครอบคลุมคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรต้น หรือตัวแปรตามในประเด็นปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัยก็เป็นการเพียงพอแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าไม่ควรนำคำในนิยามศัพท์เฉพาะในลำดับหลังไปใช้อธิบายคำศัพท์เฉพาะในลำดับต้น ๆ การจะให้นิยามศัพท์เฉพาะของ ผลสัมฤทธฺทางการเรียน โดยอ้างอิงถึงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั้นก็ควรให้นิยามศัพท์เฉพาะของคำว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ก่อน งานวิจัยเป็นเอกสารสาธารณะ เป็นงานนิพนธ์ชั้นสูงดังนั้นควรใส่ใจในระบบที่เป็นระเบียบอย่างเคร่งครัดเพราะมันสะท้อนภาพของความน่าเชื่อถือ ความประณีตรอบคอบของผู้นำเสนอผลงาน การเคารพในตัวงานและผู้อ่านควรจะเป็นจิตวิญญาณอย่างหนึ่งของนักวิจัย
คำนิยามศัพท์เฉพาะนั้นเป็นการเขียนเพื่อให้ความหมายของคำหลักที่ใช้เฉพาะในการวิจัยครั้งนั้น ๆ จึงเรียกว่า "ศัพท์เฉพาะ" คำหลักเหล่านี้ได้แก่คำหลักที่ปรากฏในชื่อเรื่องได้แก่ ตัวแปรตามที่ศึกษาทุกด้าน ตัวแปรต้นบางตัว เชน คุณวุฒิ ประสบการณ์ ขนาดสถานศึกษา หรือ ช่วงชั้นเป็นต้น คำนิยามศัพท์เฉพาะของตัวแปรตามและแต่ละด้านของตัวแปรตามมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากคำศัพท์เหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็ข้อคำถามในแบบสอบถาม สำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ถ้าคำนิยามของตัวแปรตามไม่ชัดเจนย่อมเขียนข้อคำถามไม่ชัดเจนและไม่ตรงประเด็นที่ต้องการ
คำนิยามเหล่านี้ได้มาจากเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและกล่าวไว้ในบทที่ 2 นั่นเอง จะไปลอกหรือยกคำนิยามที่ผู้อื่นเขียนไว้ในงานวิจัยอื่นไม่ได้เป็นอันขาด (ยกเว้นในกรณีที่ทำเรื่องเดียวกัน ในพื้นที่เดียวกัน และใช้ตัวแปรตัวเดียวกัน แต่จะต้องอ้างอิงที่มาให้ถูกต้องตามหลักและวิธีการอ้างอิง)
การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะต้องเป็นข้อความที่สั้น กระชับแต่ครอบคลุมและให้ความหมายคำนั้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะคำนิยามศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับ ตัวแปรตามต้องละเอียด และชัดเจน
การนิยามศัพท์ทำได้ 2 ระดับ คือ
1. นิยามตามทฤษฎี(Constitutive Definition) หรือนิยามทั่วไป (General Definition) เป็นการอาศัยความคิดเดิมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปหรือใช้ความหมายตามทฤษฎี ตามผู้เชี่ยวชาญมาให้ความหมายเป็นการบอกคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของตัวแปร คำศัพท์ หรือข้อความเฉพาะนั้น ๆ นำนองเดียวกับนิยามตามพจนานุกรม
2. นิยามปฎิบัติการ (Operational Definition) เป็นการให้ความหมายในเชิงรูปธรรม หรืออธิบายลักษณะกิจกรรมที่สามารถวัดได้ สังเกตได้ของตัวแปรนั้น การให้นิยามระดับนี้ถือว่าจำเป็นมากสำหรับศัพท์เฉพาะของตัวแปรที่เป็นนามธรรม ผู้เสนอเค้าโครงอาจนำนิยามทั่วไปมาอธิบายความหมายละเอียดอีกคึรั้งโดยกำหนดสถานการณ์ เงื่อนไข หรือสิ่งที่จะเป็นต้นเหตุทำให้เกิดคุณลักษณะนั้น พร้อมทั้งระบุพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้และวัดได้

เกณฑ์มาตรฐาน การให้นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ตัวแปรที่เป็นนามธรรมจะต้องให้นิยามทั้งระดับนิยามทั่วไป และนิยามปฏิบัติการ
2. เขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของคำศัพท์นั้น ๆ กำกับไว้ด้วย
3. กรณีที่ใช้นิยามของผู้อื่น ให้เขียนอ้างอิงไว้ด้วย
4. ให้คำนิยามศัพท์ให้ครบทุกด้านทุกคำ/ข้อความที่จำเป็นที่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับผู้วิจัย

ด้วยความปรถนาดี
krupee/

"นะโมพุทธัสสะ"
"นะโมธรรมมัสสะ"
"นะโมสังฆัสสะ"
ดำรงสติมั่นคง ไม่หลงเบียดเบียนใคร ใส่ใจในเมตตา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น