ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หัวใจของรายงานการวิจัย

ผู้ที่ช่ำชองในการทำวิจัยย่อมมีความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่าหัวข้อการนิพนธ์ในส่วน "การอภิปรายผล" ของรายงานการวิจัยนั้นจัดว่าเป็นส่วนที่ท้าทายต่อความสามารถเชิงภาษา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การเชื่อมโยงเหตุผล ระหว่างข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา หลักทฤษฎี ความสอดคล้อง และขัดแย้งกับผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การอภิปรายผลถือได้ว่าเป็นเป็น หัวใจ ของการเขียนรายงานการวิจัย ผลงานวิจัยที่ดีเด่นและได้รับรางวัล คณะกรรมการพิจารณามักจะประเมินจากการอภิปรายผลเพราะเป็นตอนที่ผู้วิจัยได้ใช้ความสามารถของตนเองในการหยิบยกประเด็นจากข้อค้นพบต่าง ๆ มาเรียบเรียง อภิปรายด้วยท่วงทำนองภาษาที่สละสวยงดงาม ร้อยเรียงถ้อยความเชื่อมโยงในวรรคต่างๆ ได้อย่างผสมกลมกลืนมีความสมเหตุสมผลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านการกลั่นกรองเชิงตรรกะอย่างลงตัว

วิธีการอภิปรายผลนั้นเป็นการหยิบยกข้อเด่น ข้อด้อย หรือ เป็นกลาง ๆ ของข้อค้นพบมาพรรณนาด้วยเหตุผลของต้นเองพร้อมหลักฐานอ้างอิงสนับสนุน ดังนี้
1. การใช้เหตุผลของตนเอง ด้วยการยกเหตุผลมาอธิบายตามสถานการณ์จริง เช่นทำไมปัญหาที่พบจึงอยู่ในระดับ น้อย ปานกลาง มาก หรือมากที่สุด
2. การอ้างอิง การอ้างอิงความคิดเห็น ข้อค้นพบ ทฤษฎีของคนอื่นมาสนับสนุนเหตุผลของเราเอง การอ้างอิงได้มาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่ในบทที่ 2 นั่นเอง การอ้างอิงที่นำมาสนับสนุนส่วนมากได้มาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีข้อค้นพบเหมือนกันหรือตรงข้ามกัน

การอภิปรายซึ่งใช้เหตุผลส่วนตัวและอ้างอิงงานวิจัยของคนอื่นมาสนับสนุน ซึ่งงานวิจัยของคนอื่นมีปรากฏอยู่แล้วในบทที่ 2 ในตอนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่มีปรากฏในบทที่ 2 ผู้วิจัยอาจต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากงานวิจัยล่าสุด ต่อจากที่ได้ค้นคว้าไว้แล้วและต้องอ้างไว้ในบทที่ 2 ก่อนจึงนำมาอ้างอิงได้ หากผลงานวิจัยไม่ได้ต้องอ้างอิงจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งมีในบทที่ 2 นั่นเอง

ด้วยความปราถนาดี
krupee/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น