ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาคผนวกบวกอะไร




มีลูกศิษย์ระดับมหาบัณฑิตคณิตศาสตร์ศึกษาหลายท่านที่ทยอยกันส่งรายงานวิทยานิพนธ์ 5 บท พร้อมส่วนประกอบต้นและปลาย ครบถ้วนกระบวนความพร้อมขึ้นสู่เวทีการสอบปากเปล่าที่แสนจะเร้าความเครียด เพราะตื่นเต้นไม่เป็นอันกินอันนอน แต่จำต้องถูกต้อนขึ้นเวที และเวทีแห่งนี้ก็ไร้พี่เลี้ยงที่คอยแบ่งปันและช่วยเหลือ ซะด้วยซิ เฮอะน่า! อย่างน้อยก็มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คอยจ้องตาให้กำลังใจบอกใบ้อยู่มั้ง อย่าหวั่นไหวไปซิ สู้โว้ย! เราก็หนึ่งในตองอู งานนิพนธ์เรื่องนี้เราทำมันมากับมือไม่ได้ซื้อหรือจ้างวานใครให้เสีย self เรารู้ดีกว่าใคร ๆ ถามมา!? ข้าพร้อมตอบ แต่อย่าหมอบกลางเวทีซะล่ะ! เตรียมตัวให้พร้อมอาจน้อมใจแผ่เมตตา สวดคาถาชินบัญชรเพื่อให้ขลังสร้างพลังใจ โอมเพี้ยง! เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างด้วย .... เอ๊! อะไรวะนี่ตู นักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่กลับใช้สิ่งนอกตัว ...เฮ้อเอาก็เอาวะ ... เพี้ยงขอให้ผ่าน E...Excellent มิใช่ E...End จบเห่ ด้วยเทอญ สาธุ!!!

อยากขอฝากการจัดระบบข้อมูลในภาคผนวกว่าจะใส่อะไรเข้าไปดี เอ! อ.พี แกบอกไว้นี่หว่าให้ใช้หลัก C แอนด์ D ดูจากรุ่นพี่ ๆ ที่ทำผ่านมาก็แล้วกัน แต่ก็อาจสับสนงุนงงสงสัยได้เพราะงานแต่ละชิ้นอาจเหลื่อมล้ำแตกต่างกัน เอากันยังไงนี่จะซี้แล้วซิเรา ลำดับดี ๆ เรื่องนี้ที่เป็นมาตรฐานมีหลักการอย่างไรกัน

ภาคผนวกเป็นส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยนำมาแสดงประกอบไว้เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภาคผนวกจะมีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นในบริบทที่นำเสนอ

ในเรื่องนี้ อ. พี ขอชี้แจงว่า การจัดระบบข้อมูลในภาคผนวกนี้ ถ้ามีภาคผนวกมากกว่า 1 ชุด ให้มีแผ่นกั้นกลางหน้ากระดาษ และพิมพ์คำว่าภาคผนวกไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ และต้องนับเลขหน้าต่อจากหน้าสุดท้ายของบรรณานุกรมแต่ไม่ต้องเขียนเลขหน้าลงไป ต่อจากนั้นนับเลขหน้าต่อไปเรื่อย ๆ จากภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ตามลำดับเช่นนี้เรื่อยไป

โดยทั่วไปแล้ว
ภาคผนวก ก จะเป็นเครื่องมือวิจัยหรือแบบสอบถาม
ภาคผนวก ข รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบเครื่องมือ
ภาคผนวก ค เป็นค่าสถิติต่าง ๆ ที่ไม่อยู่ในบทที่ 4 เช่น ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความเชื่อมั่น (Reliabjlity) และค่าสถิติปลีกย่อยอื่น ๆ

ปัจฉิมกถาที่ฝากมาย้ำเตือนว่าอย่าประมาทกับข้อมูลในภาคผนวก โดยเฉพาะในส่วนที่แสดงการคำนวณเชิงสถิติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องสมเหตุสมผลของตัวเลข มีความรู้สึกเชิงจำนวนว่าตัวเลขที่นำเสนอไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ อย่าเชื่อมั่นหรือตกเป็นทาสของเครื่องคำนวณมากนักเพราะเราอาจพลั้งพลาดในการ ป้อนข้อมูลลงไป จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมาตายกันตอนจบ ตรวจสอบให้รอบคอบ ข้อสอบหรือแบบสอบถามที่ใช้ต้องอยู่ในรูปแบบที่ดีที่สุด ไม่มีข้อบกพร่องตกหล่นอันใดปรากฏอยู่ เพราะเครื่องมือเหล่านี้ผ่านกระบวนการในการตรวจสอบ และการใช้มาแล้ว มิฉะนั้นแล้วมันอาจย้อนกลับไปถึงความไม่สมเหตุสมผลของข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมาว่าเชื่อถือได้หรือไม่



ด้วยความปราถนาดี
อ.พี/



"รสจืดคือรสแท้ มนุษย์ที่แท้คือคนสามัญ"

สุราหอมกรุ่น เนื้อติดมัน รสชาติเผ็ดร้อน หรือหวานมัน รสชาติเหล่านี้ล้วนมิใช่รสชาติที่ดีแท้ รสชาติที่ดีแท้ คือ รสจืด
คนที่มีบุคคลิกท่วงท่าดูเป็นคนพิเศษก็มิใช่เป็นคนที่กอปรด้วยคุณงามความดี ที่แท้ คนที่กอปรด้วยคุณงามความดีที่แท้นั้น คือคนที่ปฏิบัติตนเยิ่ยงคนธรรมดาสามัญ

.... ของฝากดี ๆ จากคัมภีร์รากผัก

เชิญเยี่ยมชมบล็อก

เกร็ดธรรมะ
โหราศาสตร์
เวทย์มนตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น