ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิจัยอย่าใช้สถิติมั่ว ๆ

เรื่องมั่ว ๆ ที่ชวนปวดหัวในการใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ การเปรียบเทียบวิธีสอน ความไม่ชัดเจนเกิดขึ้นตั้งแต่การกำหนดประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะส่งผลมาถึงการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะขอเน้นการใช้สถิติที่นิยมใช้กันในการทดสอบค่าเฉลี่ยของค่าที่ได้จากการวัด โดยเน้นการวิจัยเชิงทดลอง หรือ กึ่งการทดลอง ทั้งในลักษณะกลุ่มตัวอย่างเดียววัดความก้าวหน้าก่อนและหลังเรียน หรือกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มอิสระโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ด้วยการตั้งข้อสังเกตดังนี้

1. การพัฒนานวัตกรรมในการเรียนการสอน หรือ การเปรียบเทียบเทียบวิธีสอน จัดเป็นกาววิจัยเชิงทดลอง ประชากรที่ใช้ในกรณีเป็นโรงเรียนเรียนเล็ก ๆ ที่อาจมีเพียงหนึ่ง หรือ สอง ห้องเรียน ปรชากรควรกำหนดเป็นนักเรียนในระดับที่กำลังทำการศึกษาของทุกโรงในเขตพื้นที่เดียวกัน หรือนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความคล้ายคลึงกัน บริบท ของโรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวนั้น ส่วนวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษานั้น ถ้าจำเป็นอาจเลือกในลักษณะเฉพาะเจาะจง ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเครื่องมือที่จะใช้ อาคารสถานที่ บุคคลากร และปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการศึกษาทดลอง เพราะกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวนั้นจะถูก treatment ภายใต้สภาวะแวดล้อมของการวิจัยจากจุดที่เป็น original แล้ว เสมือนกับการทดลองในห้องแลปวิทยาศาสตร์เช่นนั้น การวิจัยเชิงทดลองไม่จำเป็นต้องกำหนดขนาดของตัวอย่างที่จะศึกษาใหญ่มากนัก ยิ่งโตมากยิ่งควบคุมตัวแปรลำบาก เพื่อประสิทธิภาพของการควบคุมแต่ละ unit ภายใต้ปัจจัยและเงื่อนไขในการวิจัยได้อย่างเหมาะสม

2. ขนาดตัวอย่างถ้าไม่ต่ำกว่า 21 หน่วย สามารถใช้สถิติ t ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเพื่อทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยได้ แต่ถ้าเป็นการทดสอบสองกลุ่มอิสระจะต้องมีการทดสอบความแปรปรวนโดยใช้ F-test ก่อนว่าความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่เพือเลือกสูตรที่จะใช้คำนวณค่าสถิติ t เพราะมีให้เลือกใช้สองสูตรในสภาวะที่ความแปรปรวนของประชากรเท่ากันหรือแตกต่าง ทั้งนี้ผู้วิจัยจะต้องตระหนักว่าข้อมูลที่วัดได้นั้นต้องมีระดับการวัดอย่างน้อยในระดับ interval scale และประชากรต้องมีการแจกแจงแบบปกติหรือใกล้เคียง ถ้าจำเป็นก็ต้องทำการทดสอบก่อนการใช้

3. ถ้าขนาดของตัวอย่างต่ำกว่า 21 ไม่ควรใช้สถิติ t ในการทดสอบ ควรเลือกใช้เป็นสถิติ nonparametric ซึ่งอาจเป็นการทดสอบแบบ วิลคอกซัน หรือ แมนวิทนีย์ ขึ้นอยู่กับเป็นการทดสอบกลุ่มสัมพันธ์ หรือ อิสระ

อนึ่งการพัฒนานวัตกรรมนั้นหลังจากมีการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือผู้ประเมินแล้วจะต้องมีการนำไปทดลองสามขั้นตอน คือ ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) กลุ่มย่อย (1:10) และ กลุ่มใหญ่หรือภาคสนาม ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นอาจจะมีการปรับแก้ไขเพื่อให้ได้บทเรียนที่มีประสิทธิภาพและก่อประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้ใช้นวัตกรรมนั้น

การทดลองใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นเพื่อเปรียบเทียบกับนวัตกรรมอื่น ๆ ควรเกิดขึ้นหลังจากการทดลองในภาคสนามแล้วเพราะหลังภาคสนามอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องพัฒนาให้มีความเหมาะสมมากขึ้นอีก

ด้วยความปราถนาดี/ krupee

ขอให้พระจงคุ้มครองทุกท่าน " นัมเมียว โฮเร็ง เงเคียว "... สัทธรรมปุณฑริกสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น