ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เหตุผลการเลือกใช้ t-test .ในการทดสอบสมมุติฐาน

การเลือกใช้สถิติทดสอบที (t-test) ในการตรวจสอบสมมุติฐานของการวิจัยได้มีนักสถิติได้ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้

1. Weiss (1995:537) : โดยทฤษฏีแล้วการทดสอบทีจะใช้เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก แต่ในทางปฏิบัติ t-test ใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใดก็ได้ขอเพียงให้ประชากรของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมามีการแจกแจงปกติ หรือเข้าใกล้การแจกแจงปกติก็ใช้ได้

2. Howell (1989 : 191) : การใช้การทดสอบ t มีโอกาสใช้มากกว่าการทดสอบ Z ทั้งนี้เพราะว่าในเชิงปฏิบัติแล้วเราอาจไม่มีโอกาสทราบค่าความแปรปรวนของประชากร จึงต้องมีการประมาณค่าความแปรปรวนของประชากรด้วยค่าความแปรปรวนของตัวอย่างสุ่มแทน เมื่อเป็นเช่นนี้ค่าสถิติทดสอบจะมีการแจกแจงแบบที (t-distribution) มากกว่าการแจกแจงแบบ Z นั่นคือถ้าแทนค่าความแปรปรวนของประชากรด้วยค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างแล้วควรใช้การทดสอบที

3. เพ็ญแข ศิริวรรณ (2546 : 10-1) : ได้กล่าวถึงการเลือกใช้สถิติ parametric และ nonparametric ในการทดสอบสมมุติฐานว่า เนื่องจากการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับ parameter มีข้อกำหนดว่าข้อมูลที่จะนำมาทดสอบต้องมีรดับการวัดเป็นแบบ interval scale หรือ ratio scale และมาจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ (normal distribution) หรืออย่างน้อยขนาดของตัวอย่างต้องมากกว่า 30 ในขณะที่การทดสอบแบบ nonparametric ไม่ต้องมีข้อกำหนดดังกล่าว
แม้ว่าการทดสอบแบบ nonparametric จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการทดสอบสมมุติฐานสำหรับข้อมูลที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดข้างต้น แต่เราต้องตระหนักถึงอำนาจของการทดสอบ (power of the test) หรือ ความน่าจะเป็นที่จะปฏิเสธสมมุติฐานว่าง(H0) เมื่อสมมุติฐานว่างนั้นผิด ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทดสอบแบบ parametric เช่นการทดสอบ t, Z หรือ F เพื่อทดสอบสมมุติฐานว่างที่ผิดจะมีโอกาสปฏิเสธสมมุติฐานว่างมากกว่าการทดสอบแบบ nonparametric อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่นักวิจัยที่ต้องการปฏิเสธสมมุติฐานว่างมักเลือกใช้การทดสอบแบบ parametric มากกว่าแบบ nonparametric

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น