ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ประสิทฺธิผลของนวัตกรรมการเรียนการสอน

หลังจากที่ผู้วิจัย หรือ ครูผู้สอนได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ซึ่งอาจจะเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือวิธีสอนรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาแล้ว ถ้าต้องการทราบว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาดังกล่าวนั้นจะมีประสิทธิผล (Effectiveness) ต่อผู้ใช้มากน้อยเพียงใด ก็จะต้องนำนวัตกรรมดังกล่าวนั้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับที่ได้ออกแบบมา แล้วนำผลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์หาประสิทธิผลซึ่งจะเป็นดัชนีบ่งชี้ความสามารถในการให้ผลอย่างแน่นอน ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้วิธีการวิเคราะห์และแปลผล 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ตรวจพินิจจากผลของการพัฒนา
เป็นวิธีการเปรียบเทียบผลในสองช่วงเวลา คือ ระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด เช่น ระหว่างก่อนเรียน และหลังสิ้นสุดการเรียนเพื่อให้เห็นความงอกงามหรือพัฒนาการตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวัง ซึ่งผู้วิจัยหรือครูผู้พัฒนาจะต้องสร้างเครื่องมือวัดค่าของตัวแปรที่สนใจศึกษา อาจจะเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อวัดผลการเรียนรู้หลังจากที่เรียนหรือทดลองเรื่องนั้นทั้้งนี้จะต้องครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์ ที่เรียน หรือคุณลักษณะที่มุ่งวัด เครื่องมือดังกล่าวจะต้องสร้างไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะดำเนินการทดลองก็จะต้องนำเครื่องมือดังกล่าวมาวัดผู้เรียน ซึ่งเรียกว่าการทดสอบก่อนเรียน หรือก่อนการทดลอง (Pre-test) และหลังการสอนหรือการทดลองเรื่องนั้นจบแล้วก็นำแบบทดสอบชุดเดิมมาทดสอบกับผู้เรียนกลุ่มเดิมอีกครั้ง (Post-test) แล้วนำผลการทดลองทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบด้วยการเขียนคะแนนหลังเรียนไว้ก่อนคะแนนก่อนเรียน จำแนกเป็นสองลักษณะคือ เป็นการพิจารณารายบุคคล และภาพรวมของกลุ่ม ชี้ให้ความก้าวหน้าโดยรวมของกลุ่ม และความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล อันเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมดังกล่าวนั้น แต่โดยทั่วไปแล้วการพัฒนานวัตกรรมมักมุ่งใช้ในกลุ่มอื่น ๆ และในรุ่นหลัง ๆ ด้วย (เป้าหมายเพื่อขยายผล) จึงต้องมีการวิเคราะห์ ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เช่น การใช้ t-test แบบกลุ่มสัมพันธ์ หรือ วิธีของวิลคอกซอน เมื่อจำเป็นต้องใช้ Nonparametric test กรณีกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมาก และ/หรือ ไม่ทราบการแจกแจงของประชากร

วิธีที่ 2 คำนวณค่าดรรชนีประสิทธิผล
การคำนวณดรรชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index) กรณีรายบุคคลตาม concept ของ Hofland จะได้ information ที่ชัดเจนด้วยการใช้สูตร
ดรรชนีประสิทธิผล = (คะแนนหลังเรียน - คะแนนก่อนเรียน) / ( คะแนนเต็ม - คะแนนก่อนเรียน )
เช่น นายแดง มีผลการสอบหลังงเรียน 8 คะแนน และก่อนเรียน 2 คะแนน โดยการสอบมีคะแนนเต็มเป็น 10 คะแนน จะคำนวณค่าดรรชนีประสิทธิผล(E.I.) = (8-2)/(10-2) = 0.75 คิดเป็นร้อยละ 75 แสดงว่า นายแดงมีคะแนนเพิ่มหลังเรียนจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก
โดยทั่วไปการหา E.I. มักหาโดยใช้คะแนนของกลุ่ม ซึ่งทำให้สูตรเปลี่ยนเป็นดังนี้

ดรรชนีประสิทธิผล = (ผลรวมคะแนนหลังเรียนของทุกคน - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนของทุกคน) หารด้วย
( จำนวนนักเรียนxคะแนนเต็ม - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนของทุกคน) ตัวอย่างเช่น ผลการทดสอบหลังเรียน และก่อนเรียนของนักเรียน 5 คน เป็นดังนี้
หลังเรียน : 30, 36, 40, 32 และ 22
ก่อนเรียน : 10, 14, 16, 12, และ 8
ทั้งนี้คะแนนเต็มของการสอบเป็น 40 คะแนน
เมื่อคำนวณผลรวมคะแนนหลังเรียนของทุกคนได้เท่ากับ 160 ผลรวมคะแนนสอบก่อนเรียนเป็น 60
จำนวนนักเรียน x คะแนนเต็ม = 5x40 = 200 เมื่อแทนค่าลงไปในสูตรจะได้
E.I. = (160-60)/(200-60) = 100/140 = 0.7143 แสดงว่าหลังใช้นวัตกรรมชุดนี้แล้วผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.43


ด้วยความปราถนาดี
ครู PEE/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น