ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ความถนัดทางตัวเลข

พื้นฐานที่สำคัญในการวัดความถนัดทางตัวเลข หรือความถนัดทางคณิตศาสตร์ คือ ระบบจำนวน และวิธีวัดความถนัดทางตัวเลข หรือจำนวนแบบหนึ่ง คือ การกำหนดลำดับตัวเลขโดยเริ่มต้นให้จำนวนมาชุดหนึ่งประมาณ 3-5 จำนวนแล้วถามว่า "ตัวถัดไปคืออะไร" โดยที่ตัวเลขที่ต้องการนั้นจะมีความสัมพันธ์กับตัวเลขก่อนหน้านั้นตามเงื่อนไขที่ผู้ตั้งโจทย์ได้กำหนดไว้
แบบของโจทย์วัดความถนัดทางจำนวนเกี่ยวกับลำดับตัวเลขมีดังนี้

1. อนุกรมเลขคณิต

จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้

1) 1, 5, 9, 13, ? (เพิ่มขึ้นครั้งละ 4)

2) 200, 150, 100, 50, ? (ลดลงครั้งละ 50)


2. ลำดับเรขาคณิต

จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้

1) 3, 9, 27, 81, ? (เพิ่มขึ้นครั้งละ 3 เท่า)

2) 100, 10, 1, 0.1, ? ( ลดลงครั้งละ 10 เท่า )

3. สองตัวก่อนสร้างตัวถัดไป

จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้

1) 2, 3, 5, 8, 11 ?
( 2 + 3 สร้าง 5, 3 + 5 สร้าง 8 และ 5 + 8 สร้าง 11 )

2) 1, 2, 2, 4, 8, ?
(1 x 2 สร้าง 2, 2 x 2 สร้าง 4 และ 2 x 4 สร้าง 8 )

4. คูณเพิ่มขึ้น

จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้

1) 2, 4, 12, 48, 240, ?
(2 x 2 สร้าง 4, 4 x 3 สร้าง 12, 12 X 4 สร้าง 48, 48 x 5 สร้าง 240 )

2) 3, 3, 6, 18, 72, 360, ?
(3 x 1 สร้าง 3, 3 x 2 สร้าง 6, 6 X 3 สร้าง 18, 18 x 4 สร้าง 72 และ 72 x 5 สร้าง 360 )


5. ลำดับสลับ

1) 1, 2, 3, 5, 5, 8, 7, ? เป็นลำดับสลับ
ตำแหน่งคี่ : 1, 3, 5, 7, ...
ตำแหน่งคู่ : 2, 5, 8, ...
จำนวนที่ต้องการ อยู่ในตำแหน่งคู่ ซึ่งมีเงื่อนไขคือเพิ่มขึ้นครั้งละ 3 ดังนั้นคำตอบ คือ 8 + 3 = 11

2) 2, 3, 4, 6, 6, 12, 8, ? เป็นลำดับสลับ
ตำแหน่งคี่ : 2, 4, 6, 8, ...
ตำแหน่งคู่ : 3, 6, 12, ...
จำนวนที่ต้องการ อยู่ในตำแหน่งคู่ ซึ่งมีเงื่อนไขคือเพิ่มขึ้นครั้งละ 2 เท่า ดังนั้นคำตอบ คือ 12 x 2 = 24


6. ลำดับเลขคณิตผสมเรขาคณิต
จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้
2, 5, 12, 27, 58, ?
จำนวนที่สองเกิดจาก (2 x 2) + 1 เท่ากับ 5
จำนวนที่สามเกิดจาก (5 x 2) + 2 เท่ากับ 12
จำนวนที่สี่เกิดจาก (12 x 2) + 3 เท่ากับ 27
จำนวนที่ห้าเกิดจาก (27 x 2) + 4 เท่ากับ 58


7. ลำดับเลขคณิตแบบสลับเครื่องหมาย

จงหาตัวเลขตัวถัดไปของลำดับต่อไปนี้

3, 6, 2, 7, 1, 8, ?

ุ6 เกิดจาก 3 + 3 ( ตัวหน้า + 3)
ุ2 เกิดจาก 6 - 4 ( ตัวหน้า - 4)
ุ7 เกิดจาก 2 + 5 ( ตัวหน้า + 5)
ุ1 เกิดจาก 7 - 6 ( ตัวหน้า - 6)
ุ8 เกิดจาก 1 + 7 ( ตัวหน้า + 7)

ดังนั้นคำตอบ คือ 8 - 8 = 0


รูปแบบตามแนวทางที่นำเสนอมาข้างต้นคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่จำเป็นจะต้องเตรียมตัวสอบเกี่ยวกับลำดับตัวเลข (ตำราสอบบรรจุมักจะใช้คำว่าอนุกรม หรือ อนุกรมก้าวหน้าเลขคณิต) ซึ่งจะต้องฝึกทำ ฝึกคิด พิจารณาตรวจสอบว่าเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่ค้นพบนั้นมีความถูกต้องสมเหตุสมผลโดยทดลองแทนค่าตัวเลขลงไปไม่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นก็น่าจะใช้ได้


ธรรมะเป็นพร
ครู PEE/


เก็บกลอนมาฝาก

"ทรุดร่างนั่งลงตรงนี้
ตรงที่ฟ้ากว้างบางใส
เหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียเสียใจ
ร้องให้ปลอบตนคนเดียว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น