ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความสำคัญยิ่งวิชาหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สร้างสรรค์มนุษย์เกี่ยวกับความคิด ให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล



คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความสำคัญยิ่งวิชาหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สร้างสรรค์มนุษย์เกี่ยวกับความคิด ให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล คณิตศาสตร์ยิ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนามนุษย์ การที่จะทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต้องอาศัย ปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญ คือ การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู ครูผู้สอนคณิตศาสตร์จำเป็นต้องมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ตลอดจนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนได้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ในแนวทาง การใช้หลักสูตรว่า ให้ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการฝึกทักษะและกระบวนการกลุ่มเป็นสำคัญ แต่ในสภาพความเป็นจริง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และแนวทางของหลักสูตรได้ เนื่องจากครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายอย่างเดียว ไม่ได้ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิด ครูไม่เห็นความจำเป็นของแผนการสอน ครูสอนเร็วเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูไม่มีเวลาเตรียมการสอน การสอนมักมุ่งที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของครูดังกล่าวข้างต้น ส่งผลต่อตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกระบวนการและขาดความเข้าใจอย่างต่อเนื่องใน บทเรียน ขาดทักษะในการคิดคำนวณ ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่เป็น ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาไม่มี ประสิทธิภาพตามที่หลักสูตรต้องการ นักการศึกษาได้ทำการวิจัยทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูและ พัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติแต่ยังแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน เพราะปัญหาในแต่ละท้องถิ่นต่างกัน ข้อมูลที่ได้มานั้นครูนำไปใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และไม่ลึกซึ้งถึงขั้นจะให้ครูผู้สอนใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้ และงานวิจัยที่ทำไว้ไม่ตรงกับสภาพการณ์ สภาพปัญหาที่ในชีวิตประจำวันที่ครูกำลังเผชิญอยู่ นักวิจัยการศึกษาหลายท่านกล่าวไว้ตรงกันว่า วิธีการที่ครูแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองด้วยการวิจัยเอง ซึ่งเรียกว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ได้สนใจที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยนำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นดังนั้นดิฉันเห็นว่าเราควรมีการพัฒนาคุณภาพการ เรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการพัฒนานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้มากยิ่งขึ้น จึงมีข้อเสนอแนะกับงานวิจัยนี้คือ
1. การนำรูปแบบกระบวนการวิจัยไปใช้ ควรมีการศึกษาสภาพปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน
2. ควรมีการปรับขั้นตอนย่อยในรูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียนที่ต่างกัน
3. ควรใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายชนิด และเครื่องมือควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ
4. ครูที่จะนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ ควรรู้สภาพปัญหาของนักเรียน และมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการสอนวิชานั้นเป็นอย่างดี
5. ควรมีการประสานกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อให้การแก้ปัญหาง่ายยิ่งขึ้น
6. ควรจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน
7. การจัดกิจกรรมที่มีการแข่งขันช่วยแก้ปัญหาการทำงานช้า ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดี
8. ครูควรให้ความเป็นกันเองกับนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการเรียนดีขึ้น กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าถาม
9. ควรใช้สื่อการสอนที่เป็นของจริง ใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น