ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มาตรฐานการเรียนรู้คณิตฯ

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนมีดังนี้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

มาตรฐาน ค1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้

มาตรฐาน ค1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้

มาตรฐาน ค1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้

สาระที่ 2 การวัด

มาตรฐาน ค2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด

มาตรฐาน ค2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้

มาตรฐาน ค2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้

สาระที่ 3 เรขาคณิต

มาตรฐาน ค3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้

มาตรฐาน ค3.2 ใช้การนึกภาพ(visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ(spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต(geometric model) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ 4 พีชคณิต

มาตรฐาน 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป() ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่างๆได้

มาตรฐาน 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้

มาตรฐาน ค5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐาน ค5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้

สาระที่ 6 ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ค6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล

มาตรฐาน ค6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ

มาตรฐาน ค6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นได้

มาตรฐาน ค6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป
คำสำคัญ: มาตรฐานการเรียนรู้




จุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชาต้องอิงมาตรฐานการเรียนรู้ใช่หรือไม่ ?


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะ ระหว่าง จุดประสงค์กับมาตรฐาน 2 คำนี้เป็นคนละระดับกันเลย ตัวอย่างเช่น สมหญิงเรียนคหกรรม ในวิชานี้กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้ว่า นักเรียนสามารถทำคุกกี้ได้ ปรากฏว่า สมหญิงทำคุกกี้ได้สำเร็จ แสดงว่าสมหญิงบรรลุจุดประสงค์แล้ว แต่เมื่อนำเข้าไปขายในสหกรณ์โรงเรียน ปรากฏว่าขายไม่ออก ไม่มีใครซื้อ ทั้งๆที่ลงทุนให้ชิมฟรี แสดงว่าคุกกี้ของเราไม่อร่อย ไม่ได้คุณภาพ คุกกี้ของเราทำยังไม่ได้มาตรฐาน แต่ถ้าเหตุการณ์พลิกผัน ส่งไปเท่าไหร่ขายหมดทุกครั้ง แถมยังมีคนสั่งทำอีก แสดงว่าคุกกี้ของเราอร่อย ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาด เห็นไหมว่า ถ้าผลงานได้ตรงตามมาตรฐาน ย่อมได้ตามจุดประสงค์ด้วย แต่ถ้าผลงานได้ตามจุดประสงค์ ยังไม่แน่ว่าจะได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ดังนั้นถ้าเราทำได้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดนั้น แล้วเราการันตีได้ว่า ได้ตามมาตรฐานด้วยละก็ จุดประสงค์นั้นก็คงใช้ได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้ายังตอบไม่ได้ก็แสดงว่ายังนำมาใช้ไม่ได้ หรือแม้ในบางครั้ง เราอาจจะพบคำว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ก็ตาม ก็ใช้วิธีตัดสินเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้กับคำว่ามาตรฐานการเรียนรู้ เพราะสำคัญทีสุดในหลักสูตรอิงมาตรฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น