ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สอนคณิตฯแบบเปิด

แม้นจะมีหลายคนบอกว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาสนุก ท้าทาย แต่อีกหลายคนกลับเบือนหน้าหนี เห็นคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากสำหรับการทำความเข้าใจ เด็กหลายคนจึงมีอาการ กลัวการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ บางรายขยาดถึงขั้นโดดเรียนหนีวิชานี้ไปเลย

วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ท้าทาย เร้าปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเด็กเป็นผู้ได้ “คิด” ค้นพบ เข้าถึง แนวคิด หลักการต่าง ๆ ด้วยตนเองมากกว่าที่ครูผู้สอนจะเป็นผู้ป้อนหรือบอกความรู้ให้แต่ เพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องหากลยุทธ์ และ/หรือแนวทางใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิผล

การใช้วิธีการสอนคณิตศาสตร์แนว ใหม่ “Open Approach และ Lesson study” หรือ “วิธีการแบบเปิดและการวิจัยแผนการสอน” ซึ่งได้ไปศึกษามาจากประเทศญี่ปุ่นที่ใช้วิธีการดังกล่าวและพัฒนามา เป็นร้อยปี เป็นรูปแบบการสอนที่ใช้สำหรับการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉพาะมาแนะ นำให้กับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ได้นำไปใช้

“วิธีการแบบเปิดนี้จะช่วยลดอุปสรรคเรื่องจำนวนเด็กต่อห้องมาก เกินไปได้ เพราะไม่ว่าในห้องนั้นจะมีเด็กกี่คนก็จะไม่ใช่อุปสรรคในการเรียน การสอน แต่ที่เราคิดว่ามีปัญหา เพราะครูผู้สอนพยายามจะควบคุมความคิดของเด็ก ทั้งห้องให้เป็นในแนวทางเดียวกัน ซึ่งหากเรายอมรับว่าเด็กแต่ละคนมีความแตก ต่างกัน ความต่างของเด็กจะทำให้เราได้คำตอบที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งนั่นน่าจะเป็นข้อได้เปรียบของการเรียนการสอนมากกว่าด้วย ซ้ำ”

สำหรับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในรูปแบบดังกล่าว จะให้ความสำคัญ กับการวิจัยแผนการสอน โดยใช้แผนการสอนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งมีกระบวน การ 3 ขั้นตอน คือ 1.ร่วมกันสร้างแผนการสอน 2.ร่วมกันสังเกตการสอน และขั้นสุดท้ายคือ 3.ร่วมกันสะท้อนผล

ในขั้นตอนแรกนั้นครูประจำวิชาคณิตศาสตร์จะมา “ร่วมกันสร้างแผน การสอน” โดยดูว่าต้องการสอนนักเรียนเรื่องอะไรบ้าง จากนั้นจะมากำหนดคำถามปลายเปิดให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการสอนเด็ก ซึ่งเป็น วิธีการ Open Approach

“ครูผู้สอนจะมาช่วยกันคิดว่า สอนเรื่องอะไรและจะตั้งคำถามอย่างไร โดยคำถามที่จะใช้ในห้องเรียนทั้งหมด จะเป็นคำถามเปิด แต่จะซุกซ่อน ประเด็นความรู้ไว้ในคำถามให้เด็กๆ ได้ร่วมกันคิด และหาคำตอบ โดยคำตอบของ เด็กแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน”

ตัวอย่างการตั้งคำถามปลายเปิด เช่น มีรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ 8 แบบ ให้นักเรียนได้ดู จากนั้นให้นักเรียนเลือกรูปทรง เรขาคณิตที่มีลักษณะร่วมกับรูปเรขาคณิตตัวอย่าง ซึ่งนักเรียนในชั้นจะเลือก รูปแตกต่างกัน บางคนอาจจะเลือกรูปเรขาคณิตที่มีลักษณะร่วมกับรูป ตัวอย่าง 2-3 รูป จากนั้นก็ให้เด็กได้อธิบายถึงเหตุผลที่เลือกรูปแต่ละรูป ว่ามีลักษณะร่วมกับรูปตัวอย่างอย่างไร
ซึ่งคำตอบของเด็กๆ บางครั้งเรานึกไม่ถึง เด็กบางคนตอบคำถามได้ตรงกับทฤษฎีของนักคณิตศาสตร์ระดับโลกด้วยซ้ำ ขณะที่เด็กทุกคนก็จะมีเหตุผลของ เขาในการเลือกรูปแต่ละรูป ซึ่งเมื่อเด็กมีคำอธิบายมา ครูก็ต้องพยายามเชื่อมโยงข้อมูลที่เด็กๆ อธิบาย ซึ่งครูจะต้องใจเย็นไม่สรุปว่าความคิดของใครผิด หรือถูก แต่เมื่อเด็กมีความเห็นที่ผิดออกไป ก็อาจจะมีเด็กคนอื่นๆ เห็นแย้ง ขึ้นมา เด็กในชั้นเรียนก็จะได้อภิปรายร่วมกัน ถกเถียงถึงความรู้นั้นด้วยกันสุดท้ายครูและนักเรียนก็จะร่วมกันสรุปประเด็นของความรู้ได้”

สำหรับจุดเน้นสำคัญของวิธีการสอนด้วยวิธี Open Approach จะต้อง ให้นักเรียนเปิดใจกว้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคน เรียนคณิตศาสตร์ได้สอดคล้องกับศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของตนและระดับของการกำหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังต้องการให้เด็กสามารถใช้ศักยภาพของ ตนเองได้อย่างเต็มที่ในกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์

ลักษณะการเรียนการสอนในห้องเรียนคณิตศาสตร์ ในปัจจุบัน ครูผู้สอนจะเป็นผู้เริ่มให้คำนิยามทางคณิตศาสตร์กับนัก เรียน เช่น บอกลักษณะของรูปทรงปริซึมเป็นอย่างไร หรือ การหาปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิตต้องใช้สูตรกว้าง X ยาว X สูง แต่วิธีการ Lesson study จะเป็น การเรียนในทางกลับกัน โดยครูเป็นผู้ตั้งคำถาม แล้วให้เด็กให้คำตอบอย่างหลาก หลาย ซึ่งครูจะต้องทำหน้าที่เชื่อมโยงคำตอบของเด็ก ๆ ไปสู่ความรู้ ซึ่งสุด ท้ายเด็กก็จะได้สูตรหรือนิยามทางคณิตศาสตร์ แต่ที่แตกต่างจากการเรียนแบบ เดิมคือ นิยามหรือสูตรที่เด็กได้จากการเรียนเช่นนี้นั้น จะได้จากความเข้าใจ ของตัวเด็ก และเขาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตัวเอง

เมื่อเขียนแผนการสอนร่วมกันแล้ว ครูผู้สอนก็เข้าสู่ขั้น ตอน “ร่วมกันสังเกตการสอน” โดยครูจะเปลี่ยนกันไปเฝ้าสังเกตการสอนในห้อง เรียนครูแต่ละคน เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ในชั้นเรียน

วิธีการแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในห้องเรียนของครูไทย แต่ในญี่ปุ่น เขาทำกันเป็นประจำ เมื่อเฝ้าสังเกตแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนของการร่วมกัน สะท้อนผล ว่าห้องเรียนของครูแต่ละคนเมื่อนำไปปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร คำถาม ใช้ได้หรือไม่ ต้องปรับปรุงอะไร เป็นลักษณะของการทำวิจัย ซึ่งในประเทศ ญี่ปุ่นครูจะต้องมาสะท้อนผลร่วมกันทุกสัปดาห์ ทำให้การเรียนการสอนในชั้น เรียนมีการปรับปรุงอยู่เสมอ และส่งผลให้ครูผู้สอนกระตือรือร้นในการหาความ รู้ และมีรูปแบบการสอนใหม่ๆ มาใช้ในห้องเรียนเสมอ

การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงการสอนลักษณะนี้ จะ ช่วยแก้ปัญหาการที่ครูเบื่อบทเรียนที่ต้องสอนเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกปีได้ ด้วย เพราะจะทำให้ครูสนุกกับการหาคำถามมาถามเด็กๆ ตื้นเต้นกับคำตอบที่ เด็กๆ แต่ละปีจะมีในชั้นเรียน ที่สำคัญรูปแบบการสอนดังกล่าวจะช่วยทำให้เด็ก ในห้องที่เก่งและไม่เก่งมีความสมดุลกัน เพราะเด็กจะได้ร่วมกันแสดงความคิด เห็น โดยครูจะไม่ปฏิเสธคำตอบของใคร แต่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงคำตอบไปสู่ความ รู้ ขณะที่การสอนแบบเดิมหากใครทำแบบฝึกหัดและการท่องจำได้มาก ก็ถือว่าเป็น คนเก่ง

การสอนวิชาคณิตศาสตร์ของเราที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ให้เด็กทำแต่แบบฝึกหัด ซึ่งนั่นไม่เรียกว่าการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะเป็นการทำแบบฝึกหัดแบบรูทีน เด็กไม่ได้คิด แต่การสอนแบบใหม่จะสอนให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ สื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษา เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการอย่างแท้จริง และการ สอนลักษณะนี้นำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กไปถึงระดับอุดมศึกษา

_________________
อ้างอิง : http://sdiff99.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น