ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดค่ายคณิตฯ

การจัดค่ายคณิตศาสตร์

การจัดค่ายคณิตศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนคณิตศาสตร์ ทำให้วิชาคณิต

ศาสตร์ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด กิจกรรมนั้น ๆ จะทำให้ผู้เรียนสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับได้ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์

เห็นประโยชน์ของการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ และก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

กิจกรรมที่เราจะเสนอต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางในการจัดเท่านั้น ผู้สอนหรือผู้ดำเนินการจัดค่ายคณิตศาสตร์สามารถดัด

แปลงไปตามสภาพการณได้หรือความเหมาะสมอื่นได้

ความหมายของค่ายคณิตศาสตร์

ค่ายคณิตศาสตร์เป็นกิจกรรมคณิตศาสตร์ประเภทของการศึกษานอกสถานที่หรือนอกห้องเรียน ที่ผู้สอนจัดให้นัก

เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม จะพักแรมร่วมกัน 1-2 วันหรือมากกว่าก็แล้วแต่โอกาส ส่วนสถานทีก็เช่นกันแล้วแต่เห็นเหมาะสม

พร้อมนั้นมีกิจกรรมเข้าร่วมทางวิชาการ นันทนาการ เพื่อเพิ่มความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฝึกด้านทักษะกระบวนการ ประสบ

การณ์ตรงด้านคณิตศาสตร์ ในสภาพแวดล้อมที่ผู้จัดจัดให้ และส่งเสริมในผู้เข้าค่ายมีความคิดสร้างสรรค์ในทาง

คณิตศาสตร์

จุดประสงค์ของการเข้าค่ายคณิตศาสตร์

1. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดและมีความคิดสร้างสรรค์ในทางคณิตศาสตร์

3. เพื่อให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากที่สุด

4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาส ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ธรรมชาติไปด้วย

5. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยเป็นคนช่างสังเกตุ ค้นหาข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล วางแผนและสรุปสิ่งที่พบเห็น

ได้ด้วยตนเอง

6. เพื่อนำเอาประสบการณ์ที่ผ่านการเข้าค่ายมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

7. เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงนอกเหนือจากที่เรียนในห้องเรียน

8. เพื่อฝึกให้นักเรียนได้อยู่ร่วมกัน และรู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่นได้

9. เพื่อฝึกให้มีวินัย รู้จักเสียสละ ตรงต่อเวลา ร่วมกับเพื่อนแก้ปัญหา และรู้จักเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

หลักเกณฑ์การจัดค่ายคณิตศาสตร์ควรปฏิบัติดังนี้

1. กำหนดเนื้อหาของการจัดค่ายให้ชัดเจน

2. สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตรงจากการเข้าค่ายจริง

3. กิจกรรมที่จัดต้องเน้นด้านคณิตศาสตร์ และเสริมสร้างความรูปตามหลักสูตรคณิตศาสตร์

4. เน้นกิจกรรมทั้งด้านวิชาการและนันทนาการที่นักเรียนที่นักเรียนได้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี

มีมนุษยสัมพันธืที่ดี และมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

5. ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักในการจัดค่าย อาทิ การเดินทาง ที่พัก กิจกรรมที่จัด ฯลฯ

6. ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กิจกรรมที่จัดต้องไม่เป็นการท้าทาย ขัดศิลธรรมวัฒนธรรม และวัยของผู้เข้าค่าย

7. ช่วงเวลาที่จัด อาทิ ฤดูกาล ช่วงเวลาเช่น 1-2 วัน หรือ 2-3 วัน สถานที่ตั้งค่าย เป็นต้น

กิจกรรมในการจัดค่ายคณิตศาสตร์

1. กิจกรรมวิชาการ

1.1 การบรรยายทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ เน้นเชิญวิทยากรที่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์มาบรรยาย

1.2 การดูงานสถานที่และโรงเรียนต่าง ๆ

1.3 จัดกิจกรรมรวมด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่นให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ภาพศิลป์จากรูปเรขาคณิต เป็นต้น

2. กิจกรรมนันทนาการ

1. การออกกำลังกายด้วย แอโรบิค กิจกรรมเข้าจังหวะอื่นๆ

2. เล่นเกมต่าง ๆ

3. การร้องเพลงประกอบท่าทางถ้าเป็นไปได้ควรใช้เพลงคณิตศาสตร์

4. การตอบปัญหาทางคณิตศาสตร์

ขั้นตอนการจัดค่ายคณิตศาสตร์

1. ขั้นเตรียมการ

1.1 เขียนโครงการค่ายคณิตศาสตร์ ตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ

1.2 เตรียมงานด้านวิชาการ เช่น สำรวจและศึกษาสถานที่ต่าง ๆ ที่จะเข้าค่าย

1.3 เตรียมงานด้านกิจกรรมด้านนันทนาการ และกิจกรรมประจำฐาน

1.4 กำหนดเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายที่เหมาะสม(ในกรณีจัดรวมกลุ่มโรงเรียน หรือระดับเขตการ

พื้นที่ศึกษา หรือแม้แต่โรงเรียนเดียวแต่นักเรียนมากเกินกำลังที่จะจัด)

1.5 การประสานงานด้านธุรการต่าง ๆ เช่นพาหนะ ที่พัก อาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ หรือด้านสุขอนามัย เป็นต้น

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 ประชุมคณะกรรมการแต่ละฝ่าย

2.2 จัดค่ายตามแผนงานหรือโครงการที่วางไว้

2.3 ดำเนินกิจกรรมวิชาการตามขั้นตอนดังนี้

2.3.1 ชี้แจงแนวทางและให้ความรู้ก่อนดำเนินการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

2.3.2 ดูแลนักเรียนขณะดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี

2.3.3 นักเรียนผู้เข้าค่ายทุกคนต้องเขียนรายงานและอภิปรายกิจกรรมประจำวันแต่ละวัน

3. การประเมินผล

1. ทำการประเมินผลประจำวัน เช่นประเมินผลกิจกรรมต่าง ๆ โดยคณะกรรมการค่าย เพื่อนำไปแก้ปัญหาในวัน

ต่อไป

2. ทำการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเข้าค่าย โดยประเมินผลในทุก ๆ ด้าน อาทิกิจกรรมวิชาการ นันทนาการ

กิจกรรมเข้าฐาน ธุรการและอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขไว้ใช้ในโอกาสต่อไป

หลักการจัดค่ายคณิตศาสตร์

ข้อตกลงการจัดค่ายคณิตศาสตร์

1. ให้เลือกประธานกรรมการ รองประธาน เลขานุการค่าย และอื่น ๆ ตามที่เห็นว่าควจจะมี

2. ตั้งชื่อกลุ่ม เลือกประธานรองประธาน เลขานุการประจำกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม(ควรจะเปลี่ยนประธานทุกวัน)

3. เลือกเพลงประจำกลุ่ม

4. ทุกคนต้องร่วมประจำฐานที่วิทยากรระบุในแต่ละวัน

5. ในแต่ละวันจะต้องรวมทุกกลุ่มใหญ่ที่ห้องประชุมใหญ่อาจจะวันละ 1-3 ชั่วโมงภาคเช้าและ 1 ชั่วโมงช่วงกลาง

คืน อีก 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย สุดท้ายของภาคกลางคืนคือสวดมนต์และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

ขั้นตอนการเข้าฐาน

1. จะต้องเข้าแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่ง

2. ร้องเพลงประจำกลุ่มตัวเองขณะเดินไปฐาน

3. หัวหน้ากลุ่มรายงานตัว(ที่รายงานอาจมี กลุ่มที่...ชื่อกลุ่ม...พร้อมที่จะทำกิจกรรมแล้วค่ะ เป็นต้น)

4. วิทยากรประจำฐานแนะนำชี้แจงกติกา หรือแนวทางการทำกิจกรรมและการร่วมทำกิจกรรม

5. สมาชิกในกลุ่มในแต่ละฐานร่วมทำกิจกรรมประจำฐาน(ซึ่งกิจกรรมในแต่ละฐานจะนำเสนอต่อไป) ใช้เวลาประ

มาณ 20 นาที (อันนี้แล้วแต่วันที่จัดถ้าจัดหลายวันการทำกิจกรรมแต่ละฐานอาจใช้เวลาที่ฐานมากขึ้นก็ได้)

6. วิทยากรประจำฐานประเมินการร่วมกิจกรรมของแต่ละคน

7. หัวหน้ากลุ่มกล่าวขอบคุณวิทยากรและเวียนไปฐานต่อไป

8. ทุกคนจะได้เข้าฐานคนละ 5 ฐานตามที่เรากำหนดในแผนดำเนินการ

9. คณะกรรมการประเมินผลสรุปคะแนนแต่ละฐานและรวมทุกฐาน เพื่อมอบรางวันแก่กลุ่มหรือบุคคล

กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์

การจัดค่ายคณิตศาสตร์ที่จะเสนอในที่นี้จะนำเสนอตัวอย่างคร่าวๆ ท่านสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้ตามความเหมาะ

สมดังนี้

1. การจัดค่ายแบบระบบกลุ่ม การจัดค่ายรูปแบบนี้จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย โดยการเอาจำนวนฐาน

หารด้วยจำนวนนักเรียนถ้ามากก็จะหลายคนต่อกลุ่ม แต่ละกลุ่มควรจะอยู่ประมาณไม่เกิน 15 คน และแต่ละกลุ่มจะต้องผ่าน

ฐานต่าง ๆ 5 ฐาน การเล่น บุคลากรในกลุ่มจะช่วยกันแก้ปัญหาที่ผู้จัดกำหนดให้ในแต่ละฐานให้เสร็จ จากนั้นจึงจะไปฐาน

ต่อไปได้(5 ฐานนี้ไม่ได้เป็นทฤษฏีอะไรเพียงยกเป็นตัวอย่างเท่านั้นจะมีกี่ฐานก็ได้แล้วแต่เหมาะสมและความพร้อมของผู้

ดำเนินการ) 5 ฐานดังกล่าวมีดังนี้

1.1 ฐานคณิตศาสตร์กับธรรมชาติ

1.2 ฐานคู่เราอยู่ไหน

1.3 ฐานคณิตศาสตร์ศิลป์

1.4 ฐานคำใบ้

1.5 ฐานเกมคณิตศาสตร์



รายละเอียดการจัดกิจกรรมแต่ละฐานดังนี้

1.1 ฐานคณิตศาสตร์กับธรรมชาติ ให้แต่ละกลุ่มออกแบบโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบข้าง (แต่พึงระวัง

ต้องไม่ทำลายธรรมชาติ ) โดยเน้นชิ้นงานที่เกิดขึ้นจะต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ โดยอาจจะเก็บใบไม้ ใบหญ้า

ตัดตกแต่ง ติดลงบนกระดาษที่วิทยากรแจกให้ด้วยกาว ทุกคนในกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันจนเสร็จ แล้วตั้งชื่อชิ้นงานนั้น จาก

นั้นส่งเป็นภาพในนามของกลุ่ม เพื่อประกวดเมื่อเข้าฐานครบทุกกลุ่มแล้ว

1.2 ฐานคู่เราอยู่ไหน วิทยากรประจำฐานแจกบัตรคำถามและคำตอบให้นักเรียนคนละบัตรในแต่ละรอบ จากนั้น

ให้แต่ละคนหาคู่ที่เป็นคำถามคำตอบของกันและกัน เมื่อหาครบก็จับมือกันและนั่งลง เมื่อทุกคนนั่งลงหมดแล้วก็ให้ทีละคู่

ยืนขึ้นอธิบายคำถามและที่มาของคำตอบให้เพื่อนๆ ฟัง จนครบทุกคู่ จากนั้นก็ใช้วิธีการเดิมต่อรอบที่สอง สาม สี่ ไป

เรื่อย ๆ แล้วแต่ช่วงเวลาที่กรรมการกลางกำหนดว่าแต่ละฐานให้เวลาเท่าใด เมื่อหมดเวลา

1.3 ฐานคณิตศาสตร์ศิลป์ วิทยากรเลือกรูปใดรูปหนึ่งหรือหลาย ๆ รูปต่อไปนี้ [คลิกดูที่นี่ ] แล้วขยายใหญ่ขึ้น

ขนาดกระดาษ A4 ให้ออกมาเป็นสีขาวดำ จากนั้นแจกให้นักเรียนระบายสีให้สวยงาม และเป็นชิ้นงานส่งวิทยากรและให้

คะแนนออกมา เก็บชิ้นที่มีคะแนนมากที่สุดไว้เป็นผลงานกลุ่มแล้วประกวดในระดับกลุ่มใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

1.4 ฐานคำใบ้ ฐานนี้จะแบ่งการใบออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้แล้วที่การตกลง

ของทีมวิทยากรในที่นี่คือ

1.4.1 ใบ้ด้วยกิริยาท่าทางฐานนี้วิทยากรจะใบ้คำโดยการแสดงท่าทางเท่านั้น ให้ตอบรายบุคคลโดยการให้เขียน

ใส่กระดาษที่แจกให้ วิทยากรตรวจที่ละคำ ๆ ไป คล้าย ๆ กับเกมโชว์ในทีวีแหละ สะสมคะแนนไว้ใครได้มากที่สุดในกลุ่ม

ย่อยเป็นผู้ชนะรับรางวัลไป และกลุ่มใหญ่คือทั้งหมด ก็รับรางวัลอีก คำที่จะใช้ใบ้เช่น เศษส่วน ร้อยละ เส้นตรง เส้น

โค้ง รัศมี จำนวนเต็ม จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ มุม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์อีก

มากมาย แต่เลือกเอาเฉพาะเท่าที่เวลาอำนวยเท่านั้น ในส่วนนี้ทีมวิทยากรต้องหารือกันว่า แต่ละคำใบ้ จะใช้กริยาท่า

ทางอย่างไร

1.4.2 ใบ้ด้วยการใช้เสียง แต่คำพูดที่พูดออกมาห้ามไม่ให้มีคำที่ใบ้ติดอยู่เด็ดขาด ตัวอย่างคำใบ้จะมี สี่

เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมคางหมู รูปหลายเหลี่ยม สามเหลี่ยมมุมฉาก สี่เหลียมผืนผ้า สามเหลี่ยมด้านเท่า ฯลฯ ให้ตอบ

รายบุคคลโดยการให้เขียนใส่กระดาษที่แจกให้ วิทยากรตรวจที่ละคำ ๆ ไป สะสมคะแนนเช่นข้อ 1.4.1

1.4.3 ใบ้โดยการใช้รูปภาพ วิทยากรแสดงรูปภาพให้ดูแล้วให้ตอบเป็นรายบุคคลลงในกระดาษ คำใบ้เช่น

จำนวน 21 เส้นรัศมี เส้นผ่านศูนนย์กลาง เส้นสัมผัส เส้นโค้ง มุม ฯลฯ เป็นต้น ตรงนี้วิทยากรต้องเตรียมอุปกรณ์คือ

ภาพมาให้พร้อมก่อนเข้าค่าย(ทั้ง 3 วิธีการให้แบ่งให้เหมาะสมกับเวลาที่ได้)

1.5 ฐานเกมคณิตศาสตร์ ฐานนี้วิทยากรจะให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาตัวเลข โดยตั้งคำถามให้ตอบจะเป็นการ

แบ่งกลุ่มย่อยไปอีกหรือรายบุคคลก็แล้วแต่ ใครสะสมคะแนนมากที่สุดได้รับรางวัล ตัวอย่างโจทย์ที่กำหนดเช่น

1.5.1 มีเลข 1-9 ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย บวก หรือ ลบ คั่นเลขดังกล่าวโดยกำหนดให้เลขนั้นจะต้องเรียง

ลำดับที่คงเดิม และให้ได้ผลลัพท์เท่ากับ 21 (เฉลย 1+2-3+4+5+6+7+8-9=21)

1.5.2 มีแผ่นป้ายตัวเลข 1,2,3,4,5 และ 6 อยู่สองชุด รวม 12 แผ่นป้าย จงจัดตัวเลขทั้ง 12 แผ่นป้ายออก

เป็น 4 กลุ่ม เมื่อเราจับกลุ่มตัวเลข 2 กลุ่มใด ๆ มาเทียบกันแล้วจะต้องมีตัวเลขซ้ำกันอยู่ 1 ตัวเสมอ

( เฉลย 625,613,415, 324 เมื่อเอาสองคู่มาเทียบกันจะมีเลข 1 ตัวเหมือนกันนั่นคือ 625 กับ 613 มี

เลข 6 ที่เหมือนกัน 415 กับ 613 มีเลข 1 ที่เหมือนกัน เป็นต้น)

1.5.3 หรือเข้าไปปริ้นจากเกมคณิตศาสตร์ของ mc41.com ไปเล่นก็ได้ หรือหากมีเครือข่ายอินเตอร์เนตเข้า

ให้เข้าไปเล่นในเครื่องเลยก็ได้

หมายเหตุ อาจจะเพิ่มฐานให้มากขึ้นอีกตามความเหมาะสม เช่น ฐานเกม24 ฐานเพลงคณิตศาสตร์ ฐานสมองไว ฐาน

เสริมศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ฐานคณิตคิดสนุก ฐานการหาพื้นที่รูปเหลี่ยมต่าง ๆ ฐานการหาปริมาตร ฯลฯ

เป็นต้น

2. คณิตศาสตร์แรลลี่ กิจกรรมนี้จะจัดรวมแข่งคนทั้งหมดเลย โดยให้แต่ละกลุ่มที่เข้าฐานมาเล่นแข่งขันกันการ

เล่นจะแบ่งเป็นจุดๆ ในแต่ละจุดจะมีกิจกรรมให้ทำทุกคนภายในกลุ่มนั้น ๆ ช่วยกันคิดร่วมกันแก้ปัญหา ทุกกลุ่มเริ่มจุดที่ 1

พร้อมกันและทำกิจกรรมกันกลุ่มไหนทำเสร็จก่อนก็ไปจุดที่ 2 ,3,4 และ 5 ไปเรื่อยๆ แล้วแต่จะกำหนด (เหมือนกับการแข่ง

แรลลี่รถยนต์ที่เราเคยดูนั่นแหละ) กลุ่มไหนเสร็จทุกจุดก่อนกลุ่มนั้นชนะรับรางวัลไป ในแต่ละจุดจะมีวิทยากรกำกับทุกจุด

และต้องจัดทำกิจกรรมประจำแต่ละจุดให้ครบกับจำนวนกลุ่มที่เราแบ่งไว้คือกลุ่มเดิมที่เข้าฐานนั่นเอง แต่ละจุดควรจะห่าง

กันพอสมควรเพื่อป้องกันความวุ่นวายและความเป็นระเบียบ ขอเสนอกิจกรรมดังนี้ ซึ่งอาจจะเอาหริอคิดเองก็ได้ คือ

จุดที่ 1 กิจกรรมมีแผ่นป้ายเลข 4 อยู่ 7 แผ่นป้ายเครื่องบวก ลบ อยู่อย่างละ 4 แผ่นป้าย จะทำอย่างไรให้ผล

ลัพท์มีค่าเท่ากับ 100 (เฉลย 44+44+4+4+4) กลุ่มไหนเสร็จก่อนเมื่อวิทยากรประจำตรวจสอบถูกต้องก็ต่อไปจุดที่ 2

จุดที่ 2 กิจกรรมมีแผ่นป้ายเลข 5 อยู่ 4 แผ่นป้าย แผ่นป้ายเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หารอย่างละ 3 แผ่นป้าย จะ

ใช้ปฏิบัติการอะไรบ้างให้ได้ผลลัพท์เท่ากับ 10 (เฉลย 5-5+5+5) กลุ่มไหนเสร็จก่อนเมื่อวิทยากรประจำตรวจสอบถูก

ต้องก็ต่อไปจุดที่ 3

จุดที่ 3 กิจกรรมมีแผ่นป้ายเลข 1 เลข2 เลข3 เลข4 เลข5 เลข6 และเลข 7 อย่างละแผ่นป้ายจากเลขโดด

มีแผ่นป้ายเครื่องหมายบวก ลบ อยู่อย่างละ 5 แผ่นป้าย ให้นักเรียนหาว่าจะใส่เครื่องหมายอะไรกั้นระหว่างตัวเลขตรง

ไหนให้ผลลัพท์เท่ากับ 100 โดยมีข้อแม้ว่าลำดับของตัวเลขจะต้องคงเดิมจากน้อยไปหามาก

(เฉลย 1+23+4+5+67 หรือ 1+2+34+56+7)

กลุ่มไหนเสร็จก่อนเมื่อวิทยากรประจำตรวจสอบถูกต้องก็ต่อไปจุดที่ 4

จุดที่ 4 กิจกรรมมีแผ่นป้ายเลขโดยเลข 1 เลข2 เลข3 เลข4 เลข5 เลข6 เลข 7 เลข8 เลข9 แผ่นป้าย

เครื่องหมายบวก ลบ อย่างละ 5 แผ่นป้าย ให้นักเรียนหาว่าจะใส่เครื่องหมายอะไรกั้นระหว่างตัวเลขตรงไหนให้ผลลัพท์

เท่ากับ 100 โดยมีข้อแม้ว่าลำดับของตัวเลขจะต้องคงเดิมโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือเริ่มจากเลข 9 ก่อน

(เฉลย 9-8+76+54-32+1=100)

หรือเราจะกำหนดผลลัพท์เป็นอย่างอื่นโดยที่ตัวเลขเรียงจากมากไปหาน้อยเหมือนเดิมเช่นให้ได้ 116 เช่น

(9-8+76+54-32+1=116)

กลุ่มไหนเสร็จก่อนเมื่อวิทยากรประจำตรวจสอบถูกต้องก็ต่อไปจุดที่ 5

จุดที่ 5 กิจกรรมให้ปริ้นเกมในเวบ mc41.com นี้แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ (มีคำอธิบายไว้แล้ว)

กลุ่มไหนเสร็จก่อนเมื่อวิทยากรประจำตรวจสอบถูกต้องก็ถือว่าชนะและรับรางวัลไป

หมายเหตุ การกำหนดจุดต้องคำนึงถึงคาบเวลา หากเวลามากก็อาจเพิ่มจุดขึ้นมาอีก และสามารถหากิจกรรมแต่ละจุดได้

ในเวบนี้ จะเอาจากเกมคณิตศาสตร์ จากคณิตคิดเลขเร็ว เกมเพื่อชีวิต หรืออื่น ๆ อีกมากหาค้นเอาได้


ภาคผนวก ขอเสนอกิจกรรมประจำวันพอสังเขบดังนี้



วัน เดือน ปี


เวลา


กิจกรรม


หมายเหตุ
วันที่ 1 ของการเข้าค่าย 08:00 น รายงานตัว
08:30 น พิธีเปิด
09:30 น วิทยากรแนะนำวิทยากร สถานที่ แบ่งกลุ่มนักเรียน และแนะนำกิจกรรมต่าง ๆ
10:30 น จัดกิจกรรมนันทนาการ
11:00 น. แต่ละกลุ่มเข้าประจำแต่ละฐาน
12:00 น. พักรับประทานอาหาร
13:00 น. พร้อมกันที่ห้องประชุมใหญ่จัดกิจกรรมนันทนาการ พร้อมแนะนำแต่ละกลุ่มเข้าฐาน และมอบหมายแต่ละกลุ่มเตรียมเรื่องแสดงรอบกองไฟ
โดยเน้นเรื่องที่จะแสดงอย่างน้อยสุดต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ด้วย
13:30 น. แต่ละกลุ่มเข้าประจำแต่ละฐาน
16:00 น. แต่ละกลุ่มประเมินผลการเข้าฐานประจำวันสรุปเพื่อรายงาน และ
เตรียมเรื่องที่จะแสดงรอบกองไฟตอนกลางคืน
17:30 น. รับประทานอาหารเย็น
19:00 น. พร้อม กันที่ลานรอบกองไฟแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรายงานผลที่เข้าฐานแต่ละฐานวิทยากร สรุปผลอีกครั้ง จากนั้นจัดกิจกรรมนันทนาการ แสดงกิจกรรมรอบกองไฟอย่างน้อยกลุ่มละ 1 เรื่อง สวดมนต์ไหว้พระ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี กลับที่พักนอน

วันที่ 2 ของการเข้าค่าย 05:00 น ตื่นนอน
05:30 น ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค
07:30 น รับประทานอาหารเช้า
08:30 น พร้อมกันที่ห้องประชุมใหญ่จัดกิจกรรมนันทนาการ พร้อมแนะนำแต่ละกลุ่มเข้าฐาน
09:00 น แต่ละกลุ่มเข้าประจำแต่ละฐาน
12:00 น รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น แต่ละกลุ่มเข้าประจำแต่ละฐาน
14:30 น กิจกรรมคณิตศาสตร์แรลลี่
15:30 น พร้อมกันที่ห้องประชุมใหญ่จัดกิจกรรมนันทนาการ มอบรางวัล และพิธีปิดค่ายคณิตศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น