ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความว่างที่ยังวุ่น

ในการศึกษาเรื่องเซตนั้นเราจะพบว่า เซตว่าง (Empty set, Null set หรือ Void set) ซึ่งเป็นเซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิก 0 ตัว มีสมบัติพิเศษว่า เป็นเซตย่อยของทุกเซต ซึ่งการเป็นเซตย่อยของทุกเซตนั้นในหนังสือเรียนชั้น ม.ปลาย มักจะกำหนดให้เป็นข้อตกลง แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถ พิสูจน์ได้โดยใช้รูปแบบการเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้ เนื่องจากข้อความในรูป implication ต่อไปนี้เป็นจริงเสมอ

ให้ A แทนเซตใด ๆ จะได้
" ถ้า x เป็นสมาชิกของเซตว่าง แล้ว x ย่อมเป็นสมาชิกของ A" ข้อความนี้เป็นสัจนิรันดร์

เนื่องจากข้อความที่เป็นเหตุคือ x เป็นสมาชิกของเซตว่างนั้นเป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จ ดังนั้นไม่ว่า ข้อความที่เป็นผลจะเป็นจริง หรือ เท็จ ก็ตาม ย่อมส่งผลให้ข้อความดังกล่าวที่อยู่ในรูป "ถ้า ... แล้ว... " มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ นั่นคือเซตว่างย่อมเป็นเซตย่อยของ A เมื่อ A เป็นเซตใด ๆ ก็ย่อมแสดงว่าเซตว่างย่อมเป็นสมาชิกของทุกเซต

พิจาณาเซตกำลัง(Power set) ของเซตว่าง เนื่องจากเซตกำลังของเซตว่าง คือเซตที่รวบรวมเอาเซตย่อยของเซตว่างทั้งหมดไว้ เราจะเห็นว่า เซตว่างเป็นเซตย่อยของเซตว่าง ดังนั้นสมาชิกของเซตกำลังของเซตว่างจึงมีสมาชิกหนึ่งตัวคือเซตว่างนั่นเอง นั่นย่อมแสดงว่า เซตกำลังของเซตว่างย่อมมิใช่เซตว่างเพราะมีสมาชิก 1 ตัว คือเซตว่าง

ฉันใดก็ฉันนั้น ในวิถีของการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากอัตตาตัวตน หรือความคิดปรุงแต่งนั้น สภาวะของความสงบว่างจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วนั้น ในความว่างนั้นถ้าผู้ปฏิบัติยังยึดในความว่างนั้นอยู่ ก็ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเข้าสู่ภาวะวิมุตติหลุดพ้นอย่างแท้จริง สิ้นเชิง เพราะยังมีจิตที่ยึดติดในความว่างอยู่ จิตจะต้องปล่อยวางแม้กระทั่งความว่างออกไปจึงจะก้าวล่วงสู่สภาวะสูงสุดได้
นั่นคือแม้นจะถึงความว่าง ถ้ายังยึดติด หรือมีีอุปทานในความว่างนั้นก็ยังหมุนสู่ความวุ่นได้อยู่ดี



ขอธรรมะเป็นพรแก่ทุกท่าน
มหาพุทธมนต์ " นัมเมียว โฮ เร็งเง เคียว "

1 ความคิดเห็น: