ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เหตุเป็นผล ผลเป็นเหตุ ?

ข้อความที่เป็นกฎ หรือทฤษฎีในทางคณิตศาสตร์นั้นโดยทั่วไปจะอยู่ในรูป implication หรือ "ถ้า...แล้ว..." เช่น "ถ้า a เป็นเลขคู่แล้ว กำลังสองของ a ก็จะเป็นเลขคู่ด้วย " ในกระบวนการ(algorithm) ของการให้เหตุผลหรือการพิสูจน์นั้น อาจจะมีหลายขั้นตอนกว่าจะได้ผลสรุปที่สมเหตุสมผลออกมา โดยใช้กฎทางตรรกะที่เรียกว่า กฎของตรรกบท(law of syllogism) เป็นเครื่องมือในการสรุป

ตัวอย่าง เช่นการพิสูจน์ข้อความที่กล่าวมาข้างต้น : "ถ้า a เป็นเลขคู่แล้ว กำลังสองของ a ก็จะเป็นเลขคู่ด้วย " ดังนี้
ขั้นที่ 1 จากเหตุที่กำหนดให้ว่า a เป็นเลขคู่ โดยใช้บทนิยามของเลขคู่จะได้ผลคือ a = 2n เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบางตัว
ขั้นที่ 2 จาก ผลที่ได้ในขั้นที่ 1 คือ a = 2n ทำหน้าที่เป็นเหตุใหม่ส่งให้เกิดผลใหม่ คือ เมื่อนำมายกกำลังสองทั้งสองข้าง จะได้ กำลังสองของ a เท่ากับ 2m เมื่อ m เท่ากับ 2 เท่าของกำลังสองของ n แสดงว่า กำลังสองของ a เป็นเลขคู่นั่นเอง

นั่นคือ เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผลที่สอดคล้องกับเหตุนั้นเสมอ และแต่ละผลที่เกิดขึ้นก็ย่อมทำหน้าที่เป็นเหตุใหม่และส่งผลให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาได้แน่นอน เหตุอย่างไรผลอย่างนั้น หมุนวนไปเช่นนั้นเป็นอนันต์ ความคิดสร้างสรรค์หรือทำลายล้างของมวลมนุษย์ที่ขับเคลื่อนชีวิตด้วยความอยากย่อมไม่มีวันจบสิ้น ดังพุทธอมตวาจาที่ปรากฏเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพซึ่งเป็นกฎที่เป็นความจริงสากล(ultimate truth) สูงสุดแห่งจักรวาลซึ่งบัญญัติไว้ว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

... สาธุ สาธุ สาธุ ..

ขอพรแห่งพระพุทธะ จงคุ้มครองให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสวัสดีมีชัย
มหาพุทธมนต์ :" นัมเมียว โฮเร็ง เงเคียว "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น