ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็น อย่างมาก เพราะมีการศึกษาที่ใดย่อมมีการนำปรัชญาการศึกษาไปใช้ที่นั่น เช่นเดียวกัน ที่ใดมีปรัชญาการศึกษาที่นั่นย่อมมีการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทาง เป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
ปรัชญาการศึกษาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542 พอจะสรุปเนื้อหาความสำคัญของปรัชญาดังต่อไปนี้
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)
เน้นเนื้อหาสาระ ความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.1 เพื่อทะนุบำรุง และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
1.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
จุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ( progressivism )
แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ( reconsteuctionism )
ปรัชญาการศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้น ใหม่ ในแนวทางนี้คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
4.1 การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
4.2 การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
4.3 การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
4.4 ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิไตย
4.5 การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ( existentialism )
เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่งการดำรงชีวิตอยู่ได้ ( A World of Existing ) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็น เรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ 6. ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา ( Buddhism ) เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่าง กาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ที่มา:
http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=300
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น