ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทคนิคการแต่งเพลงคณิตศาสตร์

การใช้เพลงประกอบการสอนและการทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกล่อมเกลาจิตใจผู้เรียนให้ไม่เคร่งเครียดเกินไป ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่แต่งเพลงไม่เป็น อาจใช้บทเพลงสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป แต่สู้ผู้สอนร้องให้ฟังเองไม่ได้ เพราะสร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้เรียนได้มากกว่า และถ้ายิ่งผู้สอนแต่งเอง ร้องเองด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความขลัง สนุก มั่นใจ ร้องได้อย่างมีอรรถรสทั้งครูและผู้เรียน
การฝึกแต่งเพลง สำหรับผู้ไม่รู้ หรือชำนาญเกี่ยวกับตัวโน้ต และเล่นดนตรีไม่เป็น อาจฝึกแต่งเพลงได้ดังนี้
1. เทียบกับเนื้อร้อง และทำนองเพลงดั้งเดิม
2. การเลือกทำนองเพลง ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหา เป็นทำนองที่ฟังแล้วสนุก คึกคัก เร้าใจ สมสมัย จะทำให้ผู้เรียนร้องตาม ร้องได้ และจดจำได้ง่าย และเร็วขึ้น
3. ถ้อยคำที่ใช้ ควรพิจารณาถึงระดับของเสียง สั้น ยาว ในจังหวะใด ตอนใด ในบางครั้งท่จบลงด้วยเสียงสั้น อาจห้วน สะดุด ขาดความไพเราะนุ่มนวลไป
4. ควรฝึกร้องบทเพลงเดิมที่เป็นต้นแบบให้คล่องก่อน ก่อนที่จะลงมือแต่งเพลง ศึกษาเนื้อหาของบทเพลงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้งก่อน การตัดเนื้อหาบางคำออกอาจทำให้ความหมายผิดเพ้ยนไปได้
5. เขียนเพลงเติมลง และแต่งเพลงคณิตศาสตร์เทียบเคียงโดยคงจำนวนพยาค์เท่ากับเพลงเดิมแต่ในบางครั้งอาจจะมีจำนวนพยางค์มากหรือน้อยกว่า ทั้งนี้แล้วแต่คำที่แต่งขึ้น เพราะเนื้อหาคณิตศาสตร์นั้นบางครั้งเราอาจไมาสามารถแยกคำได้ เพราะเป็นศัพท์เทคนิค เมื่อแต่งพยางค์เกินไปก็ใช้หลักกันร้องแบบรวบคำเวลาร้องเพลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น