ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย(Deductive Reasoning)การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นวิธีการให้เหตุผลโดยสรุปผลจากข้อความที่เรียกว่า เหตุใหญ่ที่เป็นความจริงทั่วไป มาสรุปเป็นความรู้ใหม่ที่เป็นข้อสรุปส่วนย่อย ข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผลแบบนิรนัย นั้นจะเป็นข้อสรุปที่อยู่ในขอบเขตเท่านั้น จะเป็นข้อสรุปที่กว้างหรือเกินกว่าเหตุไม่ได้
การให้เหตุแบบนิรนัย ประกอบด้วยข้อความ 2 กลุ่ม โดยข้อความกลุ่มแรกเป็นข้อความที่เป็นเหตุ(Premise of hypothesis) เหตุอาจมีหลาย ๆ ข้อความ และข้อความกลุ่มที่สองจะเป็นข้อสรุป (Conclusion)
ความสมเหตุสมผล
การให้เหตุผลประกอบด้วยส่วนสองส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนที่เราต้องยอมรับกันก่อน เรียกว่า เหตุ หรือสิ่งที่กำหนดให้ หรือสมมติฐาน ส่วนที่สองคือ ผลสรุป
เราตัดสินใจว่าผลสรุปถูกต้องก็ต่อเมื่อมีความสมเหตุสมผล
การให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล(Valid) คือ การอ้างซึ่งเหตุ หรือข้ออ้างที่กำหนดให้ซึ่งเป็นผลให้เกิดข้อสรุปได้
การให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล(Invalid)คือการอ้างซึ่งเหตุหรือข้อความที่กำหนดให้ซึ่งไม่เป็นผลให้เกิดข้อสรุปได้
ตัวอย่าง
1. เหตุ 1. นกทุกตัวเป็นสัตว์ที่บินได้
2. กระจอกเทศเป็นนก
ผลสรุป กระจอกเทศเป็นสัตว์ที่บินได้
จากเหตุบังคับว่านกทุกตัวบินได้ ดังนั้น ถ้ากระจอกเทศเป็นนก กระจอกเทศต้องบินได้ จะเห็นว่าเหตุสามารถบังคับให้เกิดผลได้ การให้เหตุผลในตัวอย่างนี้จึงเป็นการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล
2. เหตุ 1. นกทุกตัวเป็นสัตว์ที่บินได้
2. กระจอกเทศเป็นสัตว์ที่บินได้
ผลสรุป กระจอกเทศไม่ใช่นก
จากเหตุบังคับว่านกทุกตัวบินได้ คือต้องเป็นนกจึงจะบินได้ การที่กระจอกเทศบินได้ กระจอกเทศอาจเป็นหรือไม่เป็นนกก็ได้ ดังนั้นเหตุในตัวอย่างนี้ไม่สามารถบังคับให้เกิดผลได้การให้เหตุผลในตัวอย่างนี้ จึงเป็นการให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น