ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หัวข้อปัญหาหรือเรื่องในการวิจัย

***ทุกปัญย่อมมีคำตอบ...พยายามมองปัญหาว่ามันเป็นปัญหาว่ามัมเป็นปัญหา อาจเรียกมันว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่ง
หรือสถานกราณ์ หรือสิ่งท้าทาย ...แล้วให้คิดว่าเราจะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร***
การจะทำวิจัยเรื่องหนึ่งนั้น ปัญหาแรกสุดที่เกิดขึ้นเสมอคือ "เราจะทำวิจัยเรื่องอะไร"การคิดพิจารณาว่าเราจะทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร และมีชื่อเรื่องว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม นับว่าเป็นจุดสำคัญ และเป็นปัญหายุ่งยากสำหรับเราโดยเฉพาะผู้วิจัยมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อ่อนประสบการณ์หรือแม้กระทั่ง ะเป็นผู้มากด้วยประสบการณ์ก็ตาม
จากประสบการณ์ในการอ่านงานวิจัย การทำวิจัย การตรวจงานวิจัย และศึกษาเอกสารด้านการวิจัย เราอาจสรุปหลักการพิจารณาเลือกปัญหา หรือประเด็นปัญหาที่นำมาเป็นหัวข้อในการวิจัยดังนี้
(1)ประเด็นที่เป็นประหาจริง
(2)ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ หรือมีความสำคัญ
(3)ประเด็นปัญหาที่พอจะนำมาทำวิจัยได้โดยไม่ลำบากนัก โดยพิจารณาในแง่ของงบประมาณใช้ไม่มากนัก วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป มีเวลาเพียงพอที่จะได้ทันตามกำหนดของโครงการ
ในการคิดหาหังข้อ ประเด็น หรือเรื่องที่จะทำวิจัยนั้นถ้าคิดด้วยตนเองไม่ออกจริงๆ เราอาจอาศัยแหล่งความคิดสนับสนุนอื่นๆ ได้ดังนี้
(ก)จากการอ่าน ด้วยการอ่านเอกสารต่างๆ โดยไม่จำกัดว่าเป็นประเภทใด บทความ หนังสือ ตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในเรื่องที่เราสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความ น่าจะดีกว่าเอกสารชนิดอื่นๆ เพราะจะให้แนวคิด และมุมมองใหม่ๆซึ่งอาจทำให้เรานึกเรื่องที่จะวิจัยได้ง่ายกว่าที่คิดเอาเอง
(ข)จากการฟัง ด้วยการเสวนาพูดคุย แลกเปลี่ยความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงานในทุกระดับ หรือ แม้แต่คนในต่างอาชีพ ทั้งนี้เพราะบางครั้งคนอาชีพเดียวกันอาจคิดปัญหาไม่ออกเช่นเดียวกับเรา แต่คนภายนอกมักมองเห็นปัญหาในสิ่งที่เราไม่เห็น หรือคาดไม่ถึง ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราได้เรื่องดีๆ ที่จะนำมาทำวิจัย
(ค)จากหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งอาจได้เรื่องที่จะทำวิจัยได้สองทางคือ ทางที่หนึ่ง ในกรณีที่คิดอะไรไม่ออกจริงๆ อ่านแล้วก็แล้ว ฟังแล้วก้อแล้ว คิดไตร่ตรองเองก็แล้ว จนปัญญา อาจใช้วิธีอื่นด้วยการถาม จากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงว่าอยากจะทำวิจัยเรื่องหนึ่งจะให้ทำเรื่องอะไร การใช้วิธีนี้อาจเป็นผลดีต่อผู้ทำวิจัยเองก็ได้อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าสนองนโยบายของหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชา แต่วิธีนี้ควรใช้ในกรณีที่เรายอมจำนน คิดเรื่องไม่ออกจริงๆ เท่านั้น เว้นแต่เมื่อโอกาศเปิดทางเลือกที่สองให้คือ หัวหน้า หรือ ผู้บังคับบัญชาแจ้งมาก่อนเลยว่ามีประสงค์จะให้ทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาหาเรื่องเอง แต่ถ้าเรื่องดังกล่าวนั้นเราทำไม่ได้ก็ชี้แจงเหตุผลกันไป
เมื่อได้เรื่องที่จะทำการวิจัยแล้ว ขั้นต่อไปคือต้องนำประเด็นปัญหานั้นมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง ซึ่งชื่องเรื่องนั้นควรสื่อความหมายงานวิจัยได้พอสมควรโดยจะประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างปรากฏในชื่อเรื่องนั้น
(1)ชื่อเรื่องควรระบุชื่อตัวแปรสำคำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรตาม (Dependent Variable) และตัแปรอิสระ (Independent Variable)ที่เป็นตัวแปรหลักๆเพื่อให้รู้ว่าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
(2)ชื่อเรื่องควรระบุแหล่งเป้าหมายที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ภาษาวิจัยเรียกว่า ประชากร (Population) หรือกลุ่มตัวอย่าง(Sample) เพื่อให้รู้ว่าจะเก็บข้อมูลที่ใดหรือกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะอย่างไรพอสังเขป
(3)ชื่องเรื่องควรบอกวิธีวิจัยอย่างคร่าวๆว่าทำวิจัยประเภทใด เช่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ หรือเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แต่ถ้าหากมีลักษณะของเรื่องยากที่จะระบุก็อาจละเว้นได้
ชื่อเรื่องในการวิจัยทั่วไปนิยมตั้งเป็นข้อความเชิงบอกเล่า ไม่นิยมตั้งเป็นคำถาม

ตัวอย่างการตั้งชื่อเรื่อง
ชื่อเรื่อง องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถานบันราชภัฎ
ตัวแปรสำคัญ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันารชภัฏ
วิธีวิจัย เป็นการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการสอนตรรกศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีให้การศึกษาด้วยบทเรียนทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ วิธีสอนปกติ
ตัวแปรสำคัญ คือ ผลที่เกิดจากการสอนตรรกวิทยา (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน)กับ วิธีสอน (บทเรียนบนเครือข่ายออิเทอร์เนต กับวิธีสอนปกติ)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
วิธีการวิจัย เป็นวิธีการวิจัยเชิงทดลอง

***เมื่อเจอปัญหาต้องพยายามนึกถึงทางแก้ นึกได้ให้เขียนไว้ เขียนลงไปให้มากๆแม้นแต่วิธีที่ดูเหมือนจะแก้ไม่ได้ แล้วเลือกวิธีหนึ่งที่พอจะปฏิบัติและใช้ได้ดีที่สุด***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น