ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานวิจัยที่มีคุณภาพ

***ก่อนที่จะทำอะไรโง่ๆ ควรคิดก่อนว่า คุณจะรู้สึกนึกคิดอย่างไรในภายหลัง***
จากเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัย เพื่อกำหนดตำแหน่งทางวิชาการแก่ราชการในกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดเกณฑ์ไว้ทั้งหมด 9 ข้อ100 คะแนน
1.ความสำคัญ และความชัดเจนของงานวิจัย (10 คะแนน)
ต้องแสดงถึงความชัดเจนสำหรับปัญหาที่นำมาทำวิจัย และ ต้องมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษา ค้นคว้าวิจัยในปัญหานั้นๆ ตลอดจนปัญหานั้นจะต้องมีความน่าสนใจด้วย และ ต้องมีขอบเขตของปัญหาหรือเรื่องที่กว้างและลึกซึ้งกับระดับตำแหน่ง รวมทั้งการให้คำนิยามของตัวแปร หรือสิ่งที่ต้องการศึกษาซึ่งมีทั้งการนิยามศัพท์ตามพจนานุกรม หรือศัพท์เทคนิคทางวิชาการเป็นที่ยอมรับแล้วแต่ยังไม่ได้บัญญัติไว้ในพจนานุกรม และคำจำกัดความที่นิยมเรียกว่า "คำนิยามเชิงปฏิบัติการ" เป็นการนำเอาตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการศึกษามาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านผลงานวิจัยได้เข้าใจตรงกัน เพราะข้อความบางอย่างอาจจะมีความหมายได้ถึง 2 หรือ 3 นัย
2.การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (10 คะแนน)
ต้องรวบรวมแนวคิด หรือหลักการของผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่วข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย และการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะการนำทฤษฎีมาอ้างอิงไว้จะทำให้ผลงานวิจัยมีน้ำหนักยิ่งขึ้น ส่วนผลงานวิจัยของผู้อื่่นที่นำมาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบในตอนอภิปรายผลจะต้องเป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องจริงๆ ในหัวข้อการอภิปรายผลจะต้องแสดงความเขื่อมโยงระหว่างผลการวิจัยกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางและ วางรูปแบบ ของการวิจัย (สร้าง Model) ในการตอบปัญหาหรือวัตถุประสงค์ และสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ชัดเจน
3.ความเหมาะสมของการออกแบบวิจัย (10 คะแนน)
แบบแผนการวิจัยต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการตอบปัญหาที่เกิดขึ้น หรือกำลังเป็นอยู่ ถ้าเป็นงานวิจัยที่มีการตั้งสมมุติฐาน โดยสมมุติฐานนั้นจะต้องตั้งให้ถูกต้องและสอดรับกับปัญหาวิจัย ดังเช่น มีรากฐานทางวิชาการที่ได้จากการศึกษาแยวคิด หลักการ ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และต้องให้คำนิยามตัวแปรหรือสิ่งที่ศึกษาอย่างชัดเจนและสอดรับกับปัญหาของการวิจัยด้วย
4.ความเหมาะสมของเทคนิคการเก็บข้อมูล / กลุ่มตัวอย่าง (10 คะแนน)
จำนวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยจะต้องเป็นไปตามหลักสถิติและกลุ่มตัวอย่างจะต้องกำหนดให้เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย สำหรับการสุ่มตัวอย่างจะขึ้นอยู่กับประเภทของการวิจัย เพราะการวิจัยบางประเภทอาจกำหนดเป็นโควตาหรือเฉพาะเจาะจงได้ แต่การวิจัยบางประเภทจำเป็นจะต้องอาศัยความน่าจะเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
5.คุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย (10 คะแแน)
เครื่องมือในการวิจัย เช่น แบบสัมภาษณ์ และอื่นๆ นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือที่จะนำเอาปัญหา หรือข้อสงสัยที่อยากจะรู้มาตอบปัญหาตามวัตถุประสงของการวิจัย ดังนั้นผลงานวิจัยจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือวิจัย เช่นแบบสอบถามมีความลุ่มลึก หรือถามอย่างละเอียดมากน้อยเพียงใด โดยเครื่องมือวิจัยต้องมีการทดสอบความเชื่อมั่น หรือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนนำไปใช้ เป็นต้น
6.การวิเคราะห์ข้อมูล (10 คะแนน)
มีความถูกต้องและเหมาะสมใช้การทางสถิติ (ถ้ามี) อย่างเหมาะสมถูกต้อง สามารถทดสอบ สมมุติฐสนที่ตั้งไว้ พร้องทั้งรายงานผงการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
7.การสรุปและการอภิปรายรายงานผลงานวิจัย (10 คะแนน)
ประมวลและตีความตลอดจนอภิปรายผลของการวิจัย และแสดงความเชื่อมโยงผลของการวิจัยนี้เข้ากับมวลความรู้เดิมที่ศึกษามา
8.การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล (10 คะแนน)
มีรูปแบบของการอ้างอิงแหล่งวิชาการที่ถูกต้องตามหลักสากลนิยมและมีความสม่ำเสมอในการใช้รูปแบบนั้น
9.ความสำคัญ และประโยชน์ของเรื่องที่วิจัย (20 คะแนน)
เรื่องที่ศึกษาวิจัยเป็นเรื่องที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ทางด้านวิชาการ หรือสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น