ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เขียนตำราอย่างไรจึงจะผ่านการประเมิน

เขียนตำราอย่างไรจึงจะผ่านประเมินผ่าน จากการเข้าร่วมสัมมนาเขียนตำราอย่างไรจึงจะผ่านการประเมิน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 บรรยายโดย ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทราบกันอยู่แล้วขอสรุปทบทวนมาฝากผู้ที่สนใจดังนี้


1. กระบวนความรู้สาขาต่าง ๆ มักอยู่ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฯ มีวารสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่จะเขียนหรือยัง ทั้งของในประเทศและต่างประเทศ


2. การเขียนหนังสือต้องคำนึงถึงว่าใครเป็นผู้อ่านถ้าผู้อ่านมีความรู้อยู่แล้วความรู้ต้องทันสมัยเนื่องจากความรู้เปลี่ยนไป ความเข้าใจเปลี่ยนไปเบื้องต้นที่เขียนต้องต่างกันของคนอื่นมีอยู่แล้ววิธีนำเสนอ


· เสนอเป็นประวัติ ,ลำดับเวลา


· เสนอเป็นปัญหา , โยงสู่เรื่องที่สังคมเชื่อถือ


· กรรมการจะนำไปเทียบกับของคนอื่นว่าความรู้สมควรกับตำแหน่งวิชาการหรือไม่


· ระวังมาตรฐานของตนเอง ให้คำนึงถึงว่าแค่นี้พอหรือยัง มีการอ้างอิง ปิดข้อโต้แย้งได้ครบถ้วนหรือยัง อย่าคิดว่าแค่นี้ก็พอแล้ว โดยคิดว่าอย่าทำผลงานให้ด้อยกว่าวิทยานิพนธ์ของลูกศิษย์ โดยใช้เกณฑ์ของ สกอ.


3. การประเมินส่วนจริยธรรม คนที่ส่งตำราให้คณะกรรมการอ่านควรมีจริยธรรมอย่างไร


- อย่าให้เป็นคดีความ


- การอ้างอิงต้องเคารพ แสดงให้เห็นที่มา


- การคัดลอกมายาวไม่อ้างอิงเป็นการผิดจรรยาบรรณ


4. เกณฑ์ดี ดีมาก ขึ้นอยู่กับคนอ่าน ขึ้นอยู่กับความรู้สึกเนื้อหาอย่างเดียวกัน คนเขียนอธิบายต่างกันให้ความชิดหรือไม่ชิดต่างกัน มีแผนภูมิตางราง รูปภาพการจัดรูปเล่มตัวอักษร จะทำให้อ่านง่าย คนอ่านเข้าใจได้ทำให้ได้ผลงานที่ดี กรรมการภายในควรตรวจสอบก่อนที่ตะออกสู่ภายนอกเพราะมันจะดูมีคุณค่าต่างกัน


5. กรณีที่มีงานหลายชิ้นเลือกงานที่คุณภาพดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องส่งทุกชิ้น เมื่อเสนอไปจะทำให้ผู้อ่านรู้ว่าผู้ส่งมีความรู้ ส่งน้อยชิ้นแล้วดี ดีกว่าส่งมากชิ้นแต่ไม่ดี ควรมีงานที่ทำคนเดียว บทความวิชาการต้องทำให้สมบูรณ์คนเดียว ลักษณะงานต้องครบตามประเภทควรมีการทบทวนเรื่อง:-


ภาษาและไวทยากร

ข้อมูลต้องที่นำมาเขียนต้องเป็นปัจจุบัน

อ้างงานของคนอื่นมากเกินไปแสดงว่าไม่มีส่วนของตนเองเลย

เขียนขยายส่วนที่มีอยู่ในหลักสูตร เชื่อมโยงกันอย่าทำงานแบบสุกเอาเผ่ากิน กรรมการอ่านแบบคนตรวจคือดูรายละเอียด แต่อ่านตลอดให้ก่อนส่งผลงานควรทำดังนี้


อ่านทบทวนด้วยตนเอง

หาผู้รู้ช่วยอ่าน , ให้ลูกศิษย์อ่าน

ตรวจสอบองค์ประกอบต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ปรึกษาผู้รู้เกี่ยวกับการระเมิดลิขสิทธิ์ เช่นรูปภาพ แผนภูมิที่นำของผู้อื่นต้องขออนุญาต ต้องตัดแปลงอย่าให้ใครฟ้องได้ ตาราง ต้องอ่านเนื้อให้ตรงกับรูปหรือตารางอย่าคิดว่าผู้ตรวจไม่รู้ ต้องคิดว่าเราเขียนให้ผู้ตรวจอ่านความน่าอ่าน

1.มาตรฐานด้านเนื้อหา


1. ด้านปริมาณ จะเขียนงานเล่มนี้เท่าไรกี่หน้า เนื้อหาเท่าไร ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่วางไว้ ต้องประมาณไว้


สอนเท่าไร อธิบายเนื้อหาอย่างไรแบบทดสอบ

สอนให้ทันกับสิ่งที่เกิดในสังคม ทุกส่วนที่ใส่ลงไปในเนื้อหา ต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ จะเขียนกว้างหรือลึก เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็กำหนดขอบเขตเขียนกว้างต้องอธิบายละเอียดถ้าซ้ำกับคนอื่นอาจตัดย่อหรือนำไปรวมกันส่วนอื่น

ต้องคำนึงถึงผู้อ่าน วิธีการต้องรู้ว่าใครอ่านถ้าเขียนตามหลักสูตร ดูขอบเขตเนื้อว่าควรเป็นอะไร ปีอะไรเป็นส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. ด้านคุณภาพ ตำราต้องเขียนครบหลักสูตร วิชาอย่างเดียวกับแต่ปรัชญาคณะต่างกัน มหาวิทยาลัยต้องเขียนต่างกันการเขียนตามตำราต่างประเทศ ต้องระวังเรื่องตัวอย่างอย่าใช้ของฝรั่ง ตำราที่มีคุณภาพผู้เขียนต้องอ่านผลงานวิจัยครบถ้วนของวิชาการ ขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขต


ความถูกต้องคือตำราต้องเขียนจากข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนต้องค้นคว้ามาดี ตรวจสอบมาอย่างดี มีความใหม่ มุมมองใหม่ ตีความใหม่ มีความเป็นตัวเราอยู่ในงานนั้น เราต้องถามว่าอะไรใหม่อาจหมายถึงการต่อยอดหรือมุมมองใหม่ ต้องทันสมัย เรื่องเดิมแต่มีนำมาเขียนให้เห็นความสำคัญเชื่อมโยงกัน ปัจจุบันอย่างไรต้องลึกซึ้งแตกต่างจากเล่มอื่น ควรลึกกว่าเรื่องทั่ว ๆ ไป มีกลวิธีในการนำเสนอ

3.การนำเสนอ


เครื่องมือ ตารางภาพ แผนภูมิ รูปภาพ

แบ่งเนื้อหาให้เป็นระบบ วิธีการเขียนที่จะไปสู้เป้าหมายคืออะไร เช่นการแบ่ง เป็นบท แบ่งเป็นหัวข้อ จำนวนบททั้งหมด บอกว่าหนังสือนี้สอนเรื่องอะไรต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด ต้องสรุปได้ว่าต้องการจะบอกอะไรในแต่ละส่วน มีอะไรสนับสนุนสามารถบอกลำดับแต่ละย่อหน้าแสดงความสัมพันธ์ มีประโยคสำคัญในแต่ละย่อหน้ามีการเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นอย่างไร หัวข้อต่าง ๆ ต้องใช้ให้เหมือนกันทั้งเล่ม วางระบบให้ดีนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันหรือซ้อนกันมาเขียนให้อยู่ด้วยกันหรือไม่จัดเนื้อหาต่าง ๆ ให้กลมกลื่น

การจัดหน้าตัวอักษรลักษณะเดียวกันตลอดเล่ม

2.มาตรฐานด้านรูปแบบ


ปกหน้า

ปกใน

คำนำ

สารบัญ

เนื้อหา

อ้างอิง

บรรณานุกรม

3.มาตรฐานด้วนภาษา


ภาษาต้องสมบูรณ์มีประธาน กิริยา กรรมในประโยค ต้องเป็นภาษาเขียน


ครบถ้วนสมบูรณ์

ถูกหลักไวยากร

ใช้ภาษาเขียน,คำต่ำ,ความหมายหยาบต้องระวัง

เป็นภาษาวิชาการ ตรงตามเนื้อหา

วิชาการต้องรู้มากกว่าผู้อื่น

ใช้คำที่จำเป็น ใช้คำพูดตรงไปตรงมา

เป็นภาษาที่เรียบเรียงดีมีน้ำหนักความสำคัญเรียงลำดับ

ควรดูว่าส่วนไหนมีการบรรยาย ส่วนไหนเป็นการนำเสนอ

การเปรียบเทียบให้ภาษามีการย่อสรุป

คนเขียนต้อง


1. มีความรู้โดยเฉพาะ โดยต้อนรู้ว่าคนอ่านเป็นปรัเภทใดรู้เรื่องมาก่อนหรือไม่


2. มีแง่มุมใหม่หักล้างของเดิมเสนอของใหม่


3. มีภาษามีรูปแบบของตนเอง


4. ต้องมีความรักในวิชาที่เขียน


5. มีความทุ่มเท มีใจที่จะทำ มีความความครุ่นคิดในเรื่องวิชาการอยู่เสมอ


คำนึงถึงผู้อ่าน


1. ต้องการรู้ใหม่กว้างขึ้น ลึกขึ้น


2. ต้องการตีความใหม่ ต้องมีอิทธิพลทางวิชาการ


3. เกิดความคิดใหม่เห็นช่องทางค้นคว้าใหม่


4. ได้ความกระจ่างในสิ่งที่ค้นหา ต้องการอ่านสิ่งที่ตกให้ง่าย


5. ต้องการมีความเชื่อมั่นในตัวผู้เขียน ต้องมีข้อมูลมีเหตุผลในการวิเคราะห์


6. หนังสือน่าอ่าน


สรุปย่อเพียงแค่นี้สำหรับทบทวนความเข้าใจของผู้ที่จะเขียนตำราในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น